หลังจากทำการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลองดูตัวอย่างการใช้งานคำสั่งต่างๆ บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ที่จะได้ใช้อยู่บ่อยๆ ครับ ลองศึกษาดู แล้วจะรู้ว่าไม่ยากเลยนะ

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ทำไมถึงต้องเป็นลีนุกซ์
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ "Running Linux" ของ Matt Welsh and Lar Kaufman
เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรี คุณสามารถจะขอจากผู้ที่มีลีนุกซ์ หรือจะดาวน์โหลดจากอินเทอร์เนต หรือบีบีเอสได้โดยไม่ผิดกฏหมาย
เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มาก ทำให้มีผู้นำลีนุกซ์ไปแก้ไขให้สามารถใช้งานได้บนตัวประมวลผลกลางหลากหลายตั้งแต่อินเทล, โมโตโรลา, ดิจิตอลอัลฟา, พาวเวอร์พีซี, ไปจนถึง สปาร์คของซัน นอกจากนี้ยังมีผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ออกมากันมากมาย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิตเต็มรูปแบบ ซึ่ง สามารถจะดึงเอาพลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ออกมาได้อย่างเต็มกำลัง ลีนุกซ์ถูกพัฒนา จากผู้พัฒนานับร้อยทั่วโลก แต่ Linus จะเป็นคนวางทิศทางในการพัฒนาด้วยตัวเองมีคุณลักษณะของระบบ UNIX เต็มรูปแบบ และเป็นระบบหลากผู้ใช้ หลายงานอย่าง แท้จริง ลีนุกซ์มีระบบอินเทอร์เฟสแบบกราฟฟิคที่เรียกกันว่า X Windows ซึ่งเป็น มาตรฐานของระบบยูนิกซ์ทั่วๆไป และสามารถใช้ window manager ได้หลายชนิด ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังสนับสนุนโปรโตคอลแบบ TCP/IP ,SLIP, PPP, UUCP และอื่นๆ


ผู้ใช้งานและแอพพลิเคชันบนลีนุกซ์
บรรดาผู้ใช้งานบนลีนุกซ์มีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระดับเคอร์นัลแฮกเกอร์ ซึ่งจะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบปฏิบัติการในระดับลึก ไปจนถึงเอนด์ยูเซอร์หรือผู้ใช้ทั่วไป
คุณสามารถใช้ลีนุกซ์ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเอาไว้ทำการศึกษาระบบยูนิกซ์ หรือคุณสามารถจะศึกษาตัวอย่างการเขียนรหัสโปรแกรมที่ดีได้ หากต้องการจะใช้แอพพลิเคชันบนดอส หรือบนวินโดว์ส ลีนุกซ์ก็จะมีดอสอีมูเลเตอร์ (DOSEMU) และวินโดว์สอีมูเลเตอร์ (WINE) ให้ สำหรับอีมูเลเตอร์ทั้งสองตัวนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ และยังรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดว์สได้ไม่มาก แต่ทีมพัฒนาโปรแกรมทั้งสองนี้ก็ยังทำการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และตั้งเป้าหมายว่าจะต้องรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดวส์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ล่าสุดทางบริษัท Caldera ได้ทำการซื้อลิขสิทธ์ WABI 2.2 ซึ่งเป็นอีมูเลเตอร์สำหรับรันแอพพลิเคชันของวินโดว์ส ที่ใช้ในเวอร์กสเตชันของซันมาใส่ในผลิตภัณฑ์ OpenLinux ของตน
แอพพลิเคชันที่พัฒนามาเพื่อใช้งานบนลีนุกซ์ที่น่าสนใจก็มีเช่น
- Emacs, Tex และ LaTeX ซึ่งซอฟท์แวร์เหล่านี้จะใช้ทำการจัดเตรียม และพิมพ์เอกสารต่างๆ
- เวปบราวเซอร์ เช่น อะรีนา เนตสเคป และ โมเสค
-เกมส์ต่างๆ เช่น DOOM เป็นต้น
แอปพลิเคชั่นที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นแอพพลิเคชั่นที่แจกจ่ายฟรี ผ่านทางอินเทอร์เนต แต่ในปัจจุบันสำหรับลีนุกซ์แล้วก็เริ่มที่จะมีตลาดของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีบริษัทต่างๆได้เริ่มทำการพัฒนาแอพพลิเคชันที่เป็นคอมเมอร์เชียลแวร์ ที่จะต้องจ่ายเงินซื้อหาถ้าหากต้องการใช้งานแอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีมากมาย และผู้พัฒนาก็มีทั้งในยุโรปและอเมริกา ตัวอย่างเช่น ดาต้าเบสเซอร์ฟเวอร์ YardSQL, JustLogic SQL สเปรตชีต NEXUS และเวิร์ดโพรเซสเซอร์ WordPerfect
นอกจากนี้ยังมีผู้รวบรวมแอพพลิเคชั่นที่จำเป็น หลายๆชนิดเข้าด้วยกัน และมีการใช้งานบนระบบเดสก์ทอปวินโดวส์ ที่น่าประทับใจ เช่น Caldera Network Desktop โดยระบบนี้จะมี ระบบควบคุมเนตเวอร์ก เวปบราวเซอร์ และ เวิร์ดโพรเซสเซอร์ ฯลฯ ให้พร้อม
คุณสามารถจะสื่อสารกับอินเทอร์เนต ทำบีบีเอสส่วนตัว ทำระบบงานแบคออฟฟิศที่ใช้งานจริง ใช้ทำการศึกษา หรือแม้แต่ใช้เป็นอินเทอร์เนตเซอร์ฟเวอร์ หรือ เวปเซอร์ฟเวอร์ก็ยังได้แอพพลิเคชันอื่นๆที่ใช้งานจริงนั้นมีตั้งแต่ระบบงานโรงพยาบาล ไปจนถึงระบบค้าปลีกที่น่าสนใจคือในสิงค์โปร์ได้ใช้ลีนุกซ์เป็นเซอร์ฟเวอร์ควบคุมระบบอีเมล์ไร้สายด้วย ขอให้คุณทดลองค้นหาดู แล้วคุณจะพบแอพพลิเคชันที่ถูกใจคุณบนลีนุกซ์


การพัฒนาระบบงานบนลีนุกซ์
ลีนุกซ์ได้ทำการเตรียม เครื่องมือพัฒนาโปรแกรมให้เราไว้อย่างครบครันซึ่งจะมีตั้งแต่แอพพลิเคชันมาตรฐานคือ C/C++ คอมไพเลอร์ของ GNU และหากเราต้องการพัฒนาระบบบน X ก็มี TCL/TK เตรียมไว้ให้ด้วย
สำหรับคอมไพเลอร์ภาษาอื่นๆก็มีเช่น Perl, Smalltalk , Pascal, Lisp เป็นต้น ถ้าคุณมีความเชี่ยวชาญการเขียนโปรแกรมแบบ X-Base หรือ FoxPro บนลีนุกซ์ก็มีดาต้าเบสที่มีการเขียนโปรแกรมแบบนี้ให้เช่นกัน และล่าสุดลีนุกซ์ก็มีจาวาคอมไพเลอร์ให้สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเขียนแอพเพลตจาวา สำหรับรันบนอินเทอร์เนตด้วย
การเขียนโปรแกรมบนลีนุกซ์
หลายคนอาจจะมีความรู้สึกว่าการเขียนโปรแกรมบนลีนุกซ์เป็นเรื่องยุ่งยาก และลำบากในการเรียนรู้ ทั้งนี้เนื่องจากลีนุกซ์เป็นระบบที่ถูกพัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ซึ่งก็เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ภาษาคู่บารมีของระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ก็คือ ภาษาซีนั่นเอง
ภาษาซีเป็นภาษาที่บางคนเรียกว่าภาษาระดับกลาง คือไม่เป็นภาษาระดับต่ำแบบแอสเซมบลีหรือเป็นภาษาสูงแบบ เบสิค โคบอล ฟอร์แทรน หรือ ปาสคาล เนื่องจากคุณสามารถจะจัดการเกี่ยวกับเรื่องของพอยน์เตอร์ได้อย่างอิสระ และบางทีคุณก็สามารถควบคุมฮาร์ดแวร์ผ่านทางภาษาซี ได้ราวกับคุณเขียนมันด้วยภาษาแอสเซมบลี ด้วยข้อดีเหล่านี้เองทำให้โปรแกรมที่ถูกเขียนด้วยภาษาซีมีความเร็วในการปฏิบัติงานสูงกว่าภาษาทั่วๆไป แต่ก็ต้องแลกกับการเรียนรู้และการฝึกฝนอย่างหนัก

ภาษาโปรแกรมที่ลีนุกซ์สนับสนุน
มีผู้คาดการณ์ว่าการเกิดขึ้นมาของภาษาสูงต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นมาของ คอมโพเน้นท์แวร์ เช่นพวกวิชวลเบสิค เดลไฟ จะทำให้การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป แต่ถ้าคุณลองสังเกตุดูคุณจะเห็นว่าภาษาซีก็ยังถูกใช้เป็นภาษาหลักในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต่อไป ระบบปฏิบัติการต่างๆ คอมไพเลอร์ หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นทูลต่างๆก็ยังคงถูกเขียนด้วยภาษาซี นอกจากนี้ภาษาซีก็ยังมีวิวัฒนาการออกไปเรื่อยๆ เช่นมีการเพิ่มเรื่องของ OOP (Opject Oriented Programming :ออปเจ็คโอเรียนเต็ดโปรแกรมมิง หรือการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ) ภาษาซีก็ถูกพัฒนาต่อไปเป็นภาษาซีพลัสพลัส (C++) ซึ่งก็คงความสามารถของภาษาซีได้อย่างครบถ้วน แม้แต่ภาษาใหม่ที่มาแรงในปัจจุบัน คือ จาวา (Java) ก็กล่าวกันว่าเป็นภาษาที่แปลงรูปแบบมาจากซีพลัสพลัสอีกที และแน่นอนว่าไม่ว่าจะเป็น ซี, ซีพลัสพลัส หรือจาวา คุณก็สามารถจะพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ภาษาเหล่านี้บนลีนุกซ์ได้
โชคดีที่ไม่จำเป็นจะต้องเขียนภาษาซีอยู่เพียงภาษาเดียวบนระบบลีนุกซ์ / ยูนิกซ์ คุณสามารถเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องมือที่ง่ายกว่านั้น นั่นก็คือ การใช้เชลล์สคริปต์ ซึ่งบางคนอาจจะเห็นว่ามันมีลักษณะคล้ายกับการเขียนแบตช์ไฟล์บนดอส แต่ในความเป็นจริงแล้วเชลล์สคริปต์มีพลังมากกว่าแบตช์ไฟล์มาก
ต่อมามีผู้พัฒนาภาษา Perl (เพอร์ล) ขึ้นมาซึ่งก็มีการรวมเอาความง่ายของการเขียนเชลล์สคริปต์เข้ากับพลังของภาษาซี คุณจะเห็นว่าคุณสามารถเขียนแอพพลิเคชั่นที่มีประสิทธิภาพสูงด้วยการใช้เพอร์ล เคยมีผู้เขียนเวปเซอร์ฟเวอร์เล็กๆด้วยการใช้เพอร์ล นอกจากนี้เพอร์ลก็ยังถูกนิยมใช้เขียนเป็นส่วนของ CGI เพื่อทำการเชื่อมระหว่างระบบฐานข้อมูลและเวปอีกด้วย
หากสนใจการเขียนโปรแกรมบนระบบ GUI เช่น X window แต่ไม่ต้องการเขียนด้วยภาษา C ซึ่งโดยปกติก็ยากอยู่แล้ว การเขียนบนระบบ X ยิ่งถือว่ายากขึ้นเป็นทวีคูณ เนื่องจากคุณจะต้องมาเรียนรู้เรื่องคอนเซปต์ของ X ด้วย คุณมีทางเลือกโดยการใช้ Tcl/Tk (อ่านว่าทิคเคิ่ล-ทีเค บางคนเรียก ทีซีแอล-ทีเค) การเขียนโปรแกรมด้วยเครื่องมือนี้จะง่ายแบบเดียวกับการเขียนด้วยเชลล์สคริปต์ ทำให้คุณสามารถเขียนแอพพลิเคชั่นบน X ได้อย่างรวดเร็ว


การพัฒนาโปรแกรมโดยใช้ wpe/xwpe
สำหรับคุณที่ไม่ชอบการเขียนโปรแกรมแล้วต้องมาคอมไพล์โดยสั่งจากคอมมานด์ไลน์ ขอให้เรียกโปรแกรมต่อไปนี้ดู wpe หรือ xwpe
ถ้าเคยใช้เครื่องมือการพัฒนาซอฟต์แวร์จากค่ายบอร์แลนด์มาก่อน เช่น Turbo Pascal , Turbo Basic หรือ Turbo C/C++ คุณจะเห็นว่า wpe/xwpe มีรูปร่างหน้าตาและการใช้งานที่คล้ายคลึงกันเลยทีเดียว คุณจะสามารถเซตให้มี break point เพื่อทำการดีบักโปรแกรมได้ หรือการเซตสภาพแวดล้อมของ เอดิเตอร์, คอมไพเลอร์ จะทำได้โดยง่าย นอกจากนี้ wpe/xwpe ไม่ได้มีไว้สำหรับทำการพัฒนาด้วยภาษาซีเพียงอย่างเดียว คุณอาจจะใช้มันเป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาด้วย ภาษาปาสคาล หรือ ฟอร์แทรนก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

Link

วาไรตี้ ดีดีจัง / ThaiBlog.info / Search Engine Optimization - AddMe / Search Engine Submission / AddDir.info Web link Directory/ Ranking Web Directory / Add2Dir.info Web link Directory/ A Big Dir/ SEO Friendly General Directory/ A1dir/ Seo friendly web directory/ 3wlink web resources/ Free Web Directory: Directory-474/ 2AddLink Web Link Directory/ วาไรตี้ ดีดีจัง / 1Abc Directory/ UK Auto Dealers Car Traders / Skaloosh Internet Directory / Sloppy Links Internet Directory / Smart Web Directory / / ThaiLand Web Directory / Free Listing Web Directory / Free web directory / Web Directory Hit LInks/ Top web Directory / UrlCan Web Directory / Free Search Engine Submission / SearchFinish / Pantip.com / Add URL Directory / Pblake Directory / เว็บไดเรคทอรี / Pantip.com/ video clip - วีดีโอคลิป/ SearchWiz.org Directory / เปิดร้านขายของ Online ฟรี! / Skype Media Web Directory / Reciprocal Links Directory / video clip - วีดีโอคลิป / บล็อก-หาเพื่อน / video clip / ฟังวิทยุ / รูปดารา / URL Shack Web Directory / World WIde Web Directory / Free One-Way Link Web Directory Web Link Index / Sports / Games / Zopso.com / ThaiBlog.info/ Search Engine Submission/ วาไรตี้ ดีดีจัง/ Search Engine Optimization - AddMe / Add Url 000 Directory/ Search Engine Optimization and SEO Tools    
Spiceday.com Banner Exchange
/ Auctions       Pedsters Planet Website Directory        Webdir & Free Counter & Hits   บล็อก หาเพื่อน สาวสวย ของแต่งบล็อก blog เว็บบล็อก เขียนบล็อก video clip ฟังวิทยุ ดูทีวี ฟังเพลง รูปดารา ทายผลบอล บล็อก หาเพื่อน สาวสวย ของแต่งบล็อก blog เว็บบล็อก เขียนบล็อก video clip ฟังวิทยุ ดูทีวี ฟังเพลง รูปดารา ทายผลบอล @Submit!-FREE Promotion Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory/ .:. Thaimarketpost.com - ไทยมาร์เก็ตโพส แหล่งรวมประกาศ ฟรีลงประกาศ ลงประกาศฟรี สินค้า ซื้อ ขาย ลงโฆษณา โปรโมทเว็บฟรี,เว็บไดเร็คทอรี่,Webdirectory,Add URL Free,Classifieds,Webboard,Blog,Advertise,Advertising,Post,TV,FM,Radio,News,Download,Wallpaper,Link Exchange/ กระเบื้อง กระเบื้องดินเผา/ ร่วมให้คะแนนโหวตเว็บแห่งนี้/ @Submit!-FREE Promotion