หลังจากทำการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลองดูตัวอย่างการใช้งานคำสั่งต่างๆ บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ที่จะได้ใช้อยู่บ่อยๆ ครับ ลองศึกษาดู แล้วจะรู้ว่าไม่ยากเลยนะ

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การใช้คำสั่งต่างๆ

คำสั่ง cat

คำสั่ง cat ใช้สำหรับการแสดงข้อมูลในไฟล์ cat ย่อมาจากคำว่า concatenate ซึ่งหมายถึงการนำมาต่อกัน

รูปแบบ: cat cat

file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดงผล

ตัวอย่าง: การนำไฟล์ /etc/motd เพียงไฟล์เดียวมาแสดงผล
$ cat /etc/motd

ตัวอย่าง: การนำเอาไฟล์ /etc/passwd มาต่อท้ายไฟล์ /etc/motd แล้วแสดงผลลัพธ์ออกมาทางจอภาพ
$ cat /etc/motd /etc/passwd

ตัวอย่าง: การนำไฟล์ /etc/motd เพียงไฟล์เดียวมาแสดงผลและต้องการเบี่ยงเบน ผลลัพธ์ไปเก็บที่ไฟล์อื่น
$ cat /etc/motd > book

ตัวอย่าง: การนำเอาข้อมูลในไฟล์ chapter1 ต่อด้วย chapter2 และ chapter3 ไปเก็บไว้ในไฟล์ book
$ cat chapter1 chapter2 chapter3 > book

ตัวอย่าง: การนำเอาข้อมูลในไฟล์ chapter1 ต่อด้วย chapter2 และ chapter3 ไปเก็บไว้ในไฟล์ book โดยการเขียนคำสั่ง cat ให้สั้นลง
$ cat chapter[123] > book
หรือ
$ cat chapter? > book
หรือ
$ cat chapter* > book

ตัวอย่าง: การใช้คำสั่ง cat ในการสร้างข้อความบรรจุลงในไฟล์สำหรับกรณีที่ข้อความมี ขนาดสั่น ๆ เพียง 2-3 ประโยค คือ แทนที่จะใช้โปรแกรม editor ในการสร้าง ไฟล์ สามารถใช้ cat แทนได้ ซึ่งจะให้ผลรวดเร็วกว่ามาก ดังนี้
$ cat > quick
this is the first line
this is the second line
this is the last line
^D
$
ตามตัวอย่างนี้ คำสั่ง cat จะเตรียมรับข้อมูลจากเทอร์มินัล เพื่อเบี่ยงเบนข้อมูลนี้ไปเก็บไว้ในไฟล์ quick โดยเราจะต้องพิมพ์ข้อมูลลงไป และจบการพิมพ์ด้วยการกดปุ่ม ctrl-d ซึ่งเป็นการแสดงจุดสิ้นสุดของไฟล์ ถึงแม้ว่าการสร้างข้อมูลลงไฟล์แบบนี้จะรวดเร็วกว่าการใช้โปรแกรมเอดิเตอร์ แต่ต้องทราบไว้ว่าเราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้คำผิดในบรรทัดก่อนได้ จึงต้องระมัดระวังขณะพิมพ์ให้ดี นั่นก็คือการใช้ cat ในกรณีนี้จะเหมาะสมเฉพาะการสร้างไฟล์ข้อมูลขนาดสั้นเท่านั้น

คำสั่ง chmod
คำสั่ง chmod ใช้สำหรับการกำหนดสิทธิ (permission) การใช้งานไฟล์หรือไดเร็คทอรี่

รูปแบบ: chmod [option] mode

file_name คือ ชื่อไฟล์ที่จะกำหนด permission
mode คือ ค่าในการกำหนด permission การใช้งานของไฟล์ ซึ่งมีการแบ่งกลุ่ม การให้ permission ไว้ 3 กลุ่มดังนี้
- user (u) ผู้ ใช้ (Username) ที่เป็นเจ้าของไฟล์
- group (g) ผู้ ใช้ (Username) ที่อยู่ใน group เดียวกัน
- others (o) ผู้ ใช้คนอื่นๆ
หากเราใช้คำสั่ง “$ ls mycommand” จะเห็น permission ของไฟล์ mycommand มีรูปแบบดังนี้

-rwxrwxrwx 1 train1 users 0 Apr, 25 09:23
mycommand

จะเห็นว่าในคอลัมน์แรกจะแสดงค่า permission ของไฟล์ mycommand เป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 คือ permission ของ user(u)
กลุ่มที่ 2 คือ group (g)
กลุ่มที่ 3 คือ others(o)
แต่ละกลุ่มจะมีค่า permission 3 ตัวดังนี้
r กำหนด permission ในการ read เรียกดูและอ่านไฟล์
w กำหนด permission ในการ write เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลในไฟล์
x กำหนด permission ในการ execute ไฟล์นั้นเป็นโปรแกรม

ตัวอย่าง: การกำหนด permission ของไฟล์ mycommand ให้สามารถ read ได้ทุกคน
$ chmod a+r mycommand
ตัวอย่าง: การกำหนด permission ของไฟล์ mycommand ให้สามารถ execute ซึ่งจะทำให้เราจะสามารถเรียก mycommand เป็นคำสั่งได้
$ chmod +x mycommand

คำสั่ง cd และ pwd
คำสั่ง cd ใช้สำหรับการเปลี่ยนไดเร็คทอรี่
คำสั่ง pwd ใช้สำหรับการแสดงไดเร็คทอรี่ปัจจุบัน
โดยปกติจะใช้งานร่วมกัน จึงขออธิบายรวมกันในที่นี้เลย
รูปแบบ: cd
รูปแบบ: pwd
การเคลื่อนย้ายพื้นที่ในการใช้งาน ทำได้โดยใช้คำสั่ง cd ตามด้วยชื่อไดเร็คทอรี่ที่เป็นจุดหมายปลายทาง โดยจะเขียนชื่อของไดเร็คทอรี่แบบสัมบูรณ์ หรือแบบสัมพันธ์ก็ได้ ส่วนคำสั่ง pwd ใช้ในการแสดงผลชื่อของไดเร็คทอรี่ที่เรากำลังอยู่ในปัจจุบัน เช่น
ตัวอย่าง: การแสดงว่าขณะนี้เราทำงานอยู่ที่ไดเร็คทอรี่ใด
$ pwd
/home/train1

ตัวอย่าง: เคลื่อนไปไดเร็คทอรี่ bin ซึ่งอยู่ภายใต้ไดเร็คทอรีปัจจุบัน
$ cd bin

ตัวอย่าง: การแสดงว่าขณะนี้เราทำงานอยู่ที่ไดเร็คทอรี่ใด
$ pwd
/root

ตัวอย่าง: แสดงการใช้เส้นทางแบบสัมบูรณ์ระบุจุดหมายปลายทาง
$ cd /root

ตัวอย่าง: การแสดงว่าขณะนี้เราทำงานอยู่ที่ไดเร็คทอรี่ใด
$ pwd
/root
ตัวอย่าง: กลับไปยัง Home ไดเร็คทอรี่
$ cd

ตัวอย่าง: การแสดงว่าขณะนี้เราทำงานอยู่ที่ไดเร็คทอรี่ใด
$ pwd
/home/train1

ในตัวอย่างนี้คงจะเห็นว่า ถ้าใช้คำสั่ง cd เฉย ๆ คือการระบุให้กลับไปยังไดเร็คทอรีบ้าน อันได้แก่ ไดเร็คทอรีแรกที่เข้ามาเมื่อเริ่มเข้าสู่ระบบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนค่าของไดเร็คทอรีบ้านได้ด้วยการเปลี่ยนค่าของตัวแปรเชลล์ที่ชื่อ HOME ส่วน “..” คือสัญญลักษณ์ที่แสดงถึงไดเร็คทอรี “พ่อ” อันได้แก่ ชั้นที่อยู่ข้างบนชั้นปัจจุบัน

คำสั่ง cp
คำสั่ง cp เป็นคำสั่งสำหรับการสำเนาไฟล์ (copy)
รูปแบบ: cp [option]

source คือ ชื่อไฟล์ต้นทางที่ต้องการทำสำเนา
destination คือ ชื่อไฟล์ปลายทางที่ต้องการสำเนาไป
ตัวอย่าง: oldname เป็นชื่อไฟล์ที่ต้องการ copy และจะสร้างไฟล์ใหม่ชื่อ newname และมีข้อมูลเหมือนต้นฉบับ
$ cp oldname newname
คำสั่ง echo
คำสั่ง echo ใช้ในการแสดงข้อความที่ระบุไว้ใน argument เช่น ถ้าเราออกคำสั่ง
รูปแบบ: echo [argument]

argument คือ ข้อความหรือตัวแปรที่ต้องการให้แสดงผล

ตัวอย่าง: การแสดงข้อความทางจอภาพ
$ echo Hello world!
Hello world!

ตัวอย่าง: การแสดงค่าของตัวแปรเชลล์ โดยใส่เครื่องหมาย “$” ข้างหน้าชื่อตัวแปร
$ echo $HOME
/home/train1
ตัวอย่าง: นอกจากนี้ยังใช้ตรวจสอบค่าของ argument ที่เกิดจากคำย่อ
$ echo c*


คำสั่ง ls
คำสั่ง ls เป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงชื่อไฟล์หรือไดเร็คทอรี่ย่อยต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้ไดเร็คทอรี่ปัจจุบันหรือไดเร็คทอรี่ที่ระบุ
รูปแบบ: ls [option] [file_name directory_name]
file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดง ในกรณีที่ต้องการระบุชื่อไฟล์
directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการแสดง ในกรณีที่ต้องการระบุชื่อไดเร็คทอรี่
option คือ ทางเลือกอื่นๆ ในการแสดงชื่อไฟล์ ที่สำคัญมีดังนี้
-l คือ การแสดงรายชื่อไฟล์แบบยาว ข้อมูลที่แสดงด้วยทางเลือกนี้จากซ้ายไปขวา ได้แก่ ชนิดและโหมดของไฟล์ จำนวนลิงค์ ชื่อเจ้าของ ขนาดของไฟล์ วันที่ที่มีการแก้ไขไฟล์ครั้งล่าสุด และชื่อของไฟล์ ซึ่งถ้าไม่ใส่ทางเลือกนี้แล้ว คำสั่ง ls ก็จะแสดงเฉพาะชื่อของไฟล์ออกมาก
-t แสดงชื่อของไฟล์ โดยเรียงลำดับที่แก้ไขไฟล์ครั้งสุดท้าย โดยจะแสดงชื่อของไฟล์ที่ได้รับการแก้ไขหลังสุดก่อน ถ้าไม่ใส่ทางเลือกนี้ ls ก็จะพิมพ์รายชื่อ ของไฟล์เรียงตามลำดับตัวอักษร
-d ใช้ในการบังคับให้แสดงข้อมูลของไดเร็คทอรีที่ระบุไว้ในส่วนของ argument ซึ่งถ้าไม่ใช้ทางเลือกนี้แล้ว คำสั่ง ls จะแสดงรายชื่อไฟล์ “ภายใต้” ไดเร็คทอรีที่ระบุแทน
-a โดยปรกติแล้ว คำสั่ง ls จะไม่แสดงชื่อของไฟล์ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วย “.” ออกมาการใช้ทางเลือกนี้เพื่อที่จะให้แสดงรายชื่อไฟล์ทุกไฟล์ เช่น “.profile”
ตัวอย่าง: การใช้คำสั่ง ls กับ option -l
$ ls –l /usr/acct/dks/book
-rw-rw-r- - l dks usr 4680 Nov 9 14:51 /usr/acct/dks/book/chapter1
-rw-rw-r- - l dks usr 3178 Nov 10 12:58 /usr/acct/dks/book/chapter2
-rw-rw-r- - l dks usr 1685 Nov 10 16:07 /usr/acct/dks/book/chapter3
ตัวอย่าง: การใช้คำสั่ง ls กับ option -l และ -d
$ ls –ld /usr/acct/dks/book
drwxrwxr-x 2 dks usr 80 Nov 8 12:27 /usr/acct/dks/book
ls eg

คำสั่ง more
คำสั่ง more ใช้ในกรณีที่ต้องการหยุดการแสดงผลข้อมูลทีละ 1 หน้า
รูปแบบ: more
file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการแสดงผล
ตัวอย่าง: การใช้คำสั่ง more อ่านเท็กซ์ไฟล์
$ more poems

ถ้าไม่สามารถดูให้จบได้ใน 1 หน้าจอ, ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อดูหน้าต่อไป
spacebar อ่านหน้าถัดไป
return หรือ enter อ่านบรรทัดต่อไป
b กลับไปหนึ่งหน้า
q ออกจาก more

คำสั่ง mkdir
คำสั่ง mkdir ใช้สำหรับสร้างไดเร็คทอรี่

รูปแบบ: mkdir

ตัวอย่าง: การสร้างไดเร็คทอรี่ชื่อ mydir อยู่ในไดเร็คทอรี่ปัจจุบัน
$ mkdir mydir

คำสั่ง mv
คำสั่ง mv เป็นคำสั่งสำหรับการเปลี่ยนชื่อไฟล์หรือไดเร็คทอรี่

รูปแบบ: mv

source คือ ชื่อไฟล์หรือชื่อไดเร็คทอรี่ต้นทาง
destination คือ ชื่อไฟล์หรือชื่อไดเร็คทอรี่ปลายทาง
ตัวอย่าง: การเปลี่ยนชื่อไฟล์ oldname ไปเป็น newname
$ mv oldname newname

คำสั่ง rm
คำสั่ง rm คำสั่งสำหรับการลบไฟล์

รูปแบบ: rm [option]
option คือทางเลือกที่จะใช้กับคำสั่ง rm โดยจะยกตัวอย่างที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
-r คือ การสั่งให้ลบไดเร็คทอรี่และไฟล์ภายใต้ไดเร็คทอรี่ (recursive)
-f คือ การสั่งยืนยันการลบ (force) จะไม่ขึ้น prompt ถามยืนยันการลบ
file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ
directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการลบ
ตัวอย่าง: การลบมาก กว่า 1 ไฟล์
$ rm oldbills oldnotes badjokes
ตัวอย่าง การลบไดเร็คทอรี่และไฟล์ภายใต้ไดเร็คทอรี่
$ rm -r ./bin
ตัวอย่าง การลบแบบยืนยันการลบ
$ rm –f oldbills oldnotes badjokes

คำสั่ง rmdir
คำสั่ง rmdir เป็นคำสั่งสำหรับการลบไดเร็คทอรี่

รูปแบบ: rmdir

directory_name คือ ชื่อไดเร็คทอรี่ที่ต้องการลบ
ตัวอย่าง: การลบไดเร็คทอรี่ essays
$ rmdir essays

หมายเหตุ: ไดเร็คทอรี่ที่ต้องการลบต้องว่างก่อนที่จะลบ การทำให้ไดเร็คทอรี่ว่างให้ใช้คำสั่ง rm ลบไฟล์ภายในไดเร็คทอรี่นั้นๆ ก่อน

คำสั่ง telnet
คำสั่ง telnet สำหรับการ Remote login

รูปแบบ: telnet [port]
ตัวอย่าง: การ telnet เข้าสู่เครื่อง health.moph.go.th port 23 จะได้ prompt login เข้าสู่ระบบ Unix
$ telnet health.moph.go.th 23

คำสั่ง FTP
คำสั่ง FTP เป็นคำสั่งสำหรับการโอนย้ายข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย TCP/IP (upload หรือ download files)
รูปแบบ: ftp [port]

ตัวอย่าง: การติดต่อไปที่เครื่อง fubar.net แล้วเปลี่ยนไดเร็คทอรี่เป็น mystuff เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ homework11
$ ftp solitude
Connected to fubar.net.
220 fubar.net FTP server (Version wu-2.4(11) Mon Apr 18 17:26:33
MDT 1994) ready.
Name (solitude:carlson): jeremy
31 Password required for jeremy.
Password:
230 User jeremy logged in.
ftp> cd mystuff
250 CWD command successful.
ftp> get homework11
ftp> quit
ตัวอย่าง: การติดต่อไปที่เครื่อง fubar.net แล้วเปลี่ยนไดเร็คทอรี่เป็น mystuff เพื่ออัพโหลดไฟล์ collected-letters
$ ftp solitude
Connected to fubar.net.
220 fubar.net FTP server (Version wu-2.4(11) Mon Apr 18 17:26:33 MDT 1994) ready.
Name (solitude:carlson): jeremy
331 Password required for jeremy.
Password:
230 User jeremy logged in.
ftp> cd mystuff
250 CWD command successful.
ftp> put collected-letters
ftp> quit

หมายเหตุ: โปรแกรม ftp จะรับ/ส่งไฟล์รูปแบบ ascii แต่สามารถระบุคำสั่ง binary หรือ ascii ในการเปลี่ยนโหมดการรับส่งข้อมูล ก่อนการสั่งคำสั่ง get หรือ put

คำสั่ง vi
คำสั่ง vi (visual editor) editor แบบจอภาพที่นิยมใช้ที่สุดในระบบ unix ในการทำงานนี้
vi จะแสดงข้อมูลในไฟล์พร้อมกันทีละ 22 บรรทัดบนจอภาพ คำสั่งใน vi คล้ายกับ ed คือเป็นตัวอักษรเดี่ยวๆ ที่ใช้ในการเลื่อน cursor เพิ่ม/ลบ แก้ไขข้อมูล ค้นหาข้อมูล และอื่น ๆแท้จริงแล้ว vi ก็คือโปรแกรมเดียวกับ ex ซึ่งเป็น editor แบบบรรทัด ดังนั้น ผู้ใช้จึงสามารถใช้คำสั่งที่ทำงานกับ ex ใน vi ได้ การทำงานของ vi แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ โหมดคำสั่ง (comand mode) และ โหมดใส่ข้อความ (text entry mode) การออกคำสั่งจะต้องอยู่ใน command mode ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มของคำสั่งออกเป็น 2 ชนิด คือ คำสั่งแบบบรรทัด (line oriented command) และ คำสั่งแบบจอภาพ (visual oriented command)

รูปแบบ: vi [file_name]

file_name คือ ชื่อไฟล์ที่ต้องการสร้างหรือแก้ไข

ซึ่งก็จะทำการเช็คดูว่าไฟล์ที่เราระบุชื่อไว้นั้นมีตัวตนอยู่หรือไม่ ถ้ามี vi ก็จะเรียกไฟล์นั้นออกมาแก้ไข ถ้าไม่มีไฟล์นั้เนอยู่ vi ก็จะทำการสร้างไฟล์ให้ใหม่โดยอัตโนมัติ เราสามารถใส่ชื่อของไฟล์ได้มากกว่า 1 ชื่อ ซึ่งหมายความว่า vi จะเริ่มทำการแก้ไขไฟล์แรกก่อน และเมื่อผู้ใช้ออกคำสั่ง :n ก็จะเป็นการเรียกไฟล์ชื่อถัดไปมาทำการแก้ไข
เมื่อแรกเริ่มทำงานนั้น vi จะเข้าไปอยู่ในโหมดคำสั่ง ซึ่งผู้ใช้สามารถเปลี่ยนให้เป็นโหมดใส่ข้อความได้ ด้วยการออกคำสั่งที่ใช้ในการเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อความ อันได้แก่ คำสั่ง a,i,c,o, หรือ s เมื่อเราเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความเสร็จแลวก็ต้องกลับไปสู่โหมดคำสั่งใหม่ โดยการกดปุ่ม Esc หรือ กดปุ่ม Del ส่วนการเปลี่ยนจากโหมดคำสั่งแบบจอภาพให้เป็นแบบบรรทัดโดยการกดปุ่ม “:” หรือ “Q” ซึ่งหลังจากที่ทำคำสั่งแบบบรรทัดเสร็จแล้ว ก็จะกลับบเข้าสู่โหมดแบบจอภาพโดยอัตโนมัติ ส่วนวิธีการเก็บข้อความที่แก้ไขเสร็จแล้วกลับลงในไฟล์ ก็ทำได้ด้วยการออกคำสั่ง zz หรือ :wq

ไม่มีความคิดเห็น:

Link

วาไรตี้ ดีดีจัง / ThaiBlog.info / Search Engine Optimization - AddMe / Search Engine Submission / AddDir.info Web link Directory/ Ranking Web Directory / Add2Dir.info Web link Directory/ A Big Dir/ SEO Friendly General Directory/ A1dir/ Seo friendly web directory/ 3wlink web resources/ Free Web Directory: Directory-474/ 2AddLink Web Link Directory/ วาไรตี้ ดีดีจัง / 1Abc Directory/ UK Auto Dealers Car Traders / Skaloosh Internet Directory / Sloppy Links Internet Directory / Smart Web Directory / / ThaiLand Web Directory / Free Listing Web Directory / Free web directory / Web Directory Hit LInks/ Top web Directory / UrlCan Web Directory / Free Search Engine Submission / SearchFinish / Pantip.com / Add URL Directory / Pblake Directory / เว็บไดเรคทอรี / Pantip.com/ video clip - วีดีโอคลิป/ SearchWiz.org Directory / เปิดร้านขายของ Online ฟรี! / Skype Media Web Directory / Reciprocal Links Directory / video clip - วีดีโอคลิป / บล็อก-หาเพื่อน / video clip / ฟังวิทยุ / รูปดารา / URL Shack Web Directory / World WIde Web Directory / Free One-Way Link Web Directory Web Link Index / Sports / Games / Zopso.com / ThaiBlog.info/ Search Engine Submission/ วาไรตี้ ดีดีจัง/ Search Engine Optimization - AddMe / Add Url 000 Directory/ Search Engine Optimization and SEO Tools    
Spiceday.com Banner Exchange
/ Auctions       Pedsters Planet Website Directory        Webdir & Free Counter & Hits   บล็อก หาเพื่อน สาวสวย ของแต่งบล็อก blog เว็บบล็อก เขียนบล็อก video clip ฟังวิทยุ ดูทีวี ฟังเพลง รูปดารา ทายผลบอล บล็อก หาเพื่อน สาวสวย ของแต่งบล็อก blog เว็บบล็อก เขียนบล็อก video clip ฟังวิทยุ ดูทีวี ฟังเพลง รูปดารา ทายผลบอล @Submit!-FREE Promotion Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory/ .:. Thaimarketpost.com - ไทยมาร์เก็ตโพส แหล่งรวมประกาศ ฟรีลงประกาศ ลงประกาศฟรี สินค้า ซื้อ ขาย ลงโฆษณา โปรโมทเว็บฟรี,เว็บไดเร็คทอรี่,Webdirectory,Add URL Free,Classifieds,Webboard,Blog,Advertise,Advertising,Post,TV,FM,Radio,News,Download,Wallpaper,Link Exchange/ กระเบื้อง กระเบื้องดินเผา/ ร่วมให้คะแนนโหวตเว็บแห่งนี้/ @Submit!-FREE Promotion