หลังจากทำการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ลองดูตัวอย่างการใช้งานคำสั่งต่างๆ บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ที่จะได้ใช้อยู่บ่อยๆ ครับ ลองศึกษาดู แล้วจะรู้ว่าไม่ยากเลยนะ

วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

New to Linux?


If you're new to Linux, you don't want to download the kernel, which is just a component in a working Linux system. Instead, you want what is called a distribution of Linux, which is a complete Linux system. There are numerous distributions available for download on the Internet as well as for purchase from various vendors; some are general-purpose, and some are optimized for specific uses. We currently have mirrors of several distributions available at mirrors.kernel.org, as well as a small collection of special-purpose distributions at http://www.kernel.org/pub/dist/.

Note, however, that most distributions are very large (several gigabytes), so unless you have a fast Internet link you may want to save yourself some hassle and purchase a CD-ROM with a distribution; such CD-ROMs are available from a number of vendors.

The Linux Installation HOWTO has more information how to set up your first Linux system.

The Linux Kernel Archive Mirror System



A number of sites all over the world are providing mirrors of the Linux Kernel Archives. Many of them have offered to participate in the Linux Kernel Archive Mirror System. To reach a suitable mirror, please select your country from the list below. If the country you are located in is not listed, select a country that is close to you, network-wise.

The Linux Kernel Archive Mirror System is set up so that for each two-letter country code from the list below, you can simply use the host names www.country.kernel.org or ftp.country.kernel.org to reach a mirror supporting that specific country. Each mirror will have a full archive of /pub/linux and /pub/software, although they may not carry both the gzip and bzip2 compression formats.

A great many thanks to the operators of the mirror sites. We greatly appreciate your help. If you want to add a mirror site to the Linux Kernel Archives Mirror System, please see this page.

If you find a mirror that is no longer operating or is out of date, please send its IP number (e.g. 192.0.2.1) to ftpadmin@kernel.org. Please also specify what the problem is, and if you were accessing it via HTTP or FTP. We either need the IP number or the .lkams.kernel.org address used in the lists of sites (click on a country) in order to identify the failing site, since most of the standard names are ambiguous and/or change with time.

The Linux Kernel Archives Mirror System currently consists of 85 sites in 38 countries or territories. An additional 71 countries or territories are supported remotely.
The numbers in parenthesis indicate the number of sites that serve a specific country. * indicates that local support is not available and that this country is serviced by sites elsewhere. Click on the name of a country to get a detailed list of sites serving this country.

วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ศัพท์เทคนิคทางคอมพิวเตอร์

A

abend การหยุดงานผิดปรกติ

ย่อมาจาก abnormal end of task การที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดการทำงานโดยไม่ได้รับคำสั่งให้หยุด มักจะเกิดขึ้นเนื่องจากความผิดพลาดในการใช้คำสั่งหรือความผิดปกติของเครื่อง

add-in program โปรแกรมเพิ่มเติม

โปรแกรมที่มีการออกแบบมาเพื่อใส่ในโปรแกรมใช้งานและช่วยให้โปรแกรมใช้งานนั้นสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น โปรแกรมอัลดาส แอดดิชันส์ (Aldus Additions) สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมอัลดาส เพจเมกเคอร์ 5 (Aldus PageMaker 5) ให้สามารถทำจุลสาร เรียงสลับหน้าเอกสาร ทำตัวอักษรนำสายตา ฯลฯ เป็นต้น ปัจจุบัน นี้บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหญ่มักอนุญาตให้นักเขียนโปรแกรมรายย่อยเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมและรวมเข้าไปใน โปรแกรมใช้งานนั้นเพื่อช่วยการทำงานของโปรแกรมหลักให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

archive การเก็บถาวร

ใช้ได้ 3 ความหมาย ดังนี้

1. การเก็บแฟ้มไว้ในหน่วยความจำสำรองเพื่อป้องกันการสูญหายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้โดยเป็นการเก็บแบบถาวร แฟ้มที่เก็บไว้นี้เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นแฟ้มสำรอง ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับแฟ้มจริง เราสามารถเรียกใช้ข้อมูลจากแฟ้มสำรองได้

2. การบีบอัดแฟ้มเพื่อให้มีเนื้อที่ในการเก็บแฟ้มเพิ่มมากขึ้น

3. สารบบแฟ้มในอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงได้โดยกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้ม (FTP) หรือสารบบที่จัดไว้สำหรับเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป

ARPAnet อาร์พาเนต
ข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) ที่จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1969 ด้วยเงินทุนของหน่วยงานโครงการวิจัยก้าวหน้า (Adavnced Research Project Agency : ARPA) อาร์พาเนตใช้เป็นที่ทดลองสำหรับพัฒนาการของกฎเกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่ทำให้อินเทอร์เน็ตใช้ได้เป็นผลสำเร็จ จุดประสงค์ใหญ่ของอาร์พาเนต คือ การเพิ่มศักยภาพทางการทหาร และความสามารถในการควบคุมการสื่อสารด้วยสื่อต่างๆ รวมถึงการสื่อสารผ่านดาว เทียมด้วย ถึงแม้อาร์พาเนตจะสามารถบรรลุถึงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก็ตาม แต่ก็ทำให้ผู้ก่อตั้งประหลาดใจเนื่องจากผู้ใช้ในอาร์พาเนตส่วนมากจะนิยมใช้เครือข่ายในการสื่อสารติดต่อกันมากกว่า เช่น การใช้ในรูปแบบของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มสนทนา ในเริ่มแรกนั้น อาร์พาเนตสามารถใช้ได้แต่เฉพาะสถาบันการค้นคว้าของรัฐบาลและมหาวิทยาลัยที่มีสัญญาทางด้านการค้นคว้ากับกระทรวงกลาโหมเท่านั้น ในปี ค.ศ. 1983 อาร์พาเนตได้แบ่งแยกออกเป็นข่ายงานทางด้านการทหารที่มีระบบรักษาความปลอดภัยในระดับสูงเรียกว่า มิลเนต (Milnet) และอาร์พาเนตที่เป็นข่ายงานทางด้านการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา

artificial intelligence (AI) ปัญญาประดิษฐ์

วิทยาการด้านคอมพิวเตอร์ศาสตร์ที่พยายามทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถกระทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนมนุษย์ เช่น การเรียนรู้ การพัฒนาปรับปรุง การคิดหาเหตุผล ฯลฯ เพื่อให้สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ดู expert system ประกอบ

authoring language ภาษาการเขียนโปรแกรม

ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงที่ผู้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้ในการผลิตเนื้อหา เรื่อง หรือบทเรียน เป็นภาษาที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษง่ายๆ ที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อให้แม้แต่ผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็สามารถเขียนได้โดยการรวมด้านโปรแกรมเนื้อหาและการเรียงลำดับตามเหตุผลของโปรแกรมเข้าไว้ด้วยกัน แต่ภาษาการเขียนโปรแกรจะมีความสามารถในการทำงานและตัวเลือกที่น้อยกว่าระบบการเขียนโปรแกรม (authoring system)

B

binary ฐานสอง, ทวิภาค

ระบบเลขฐานสองที่ใช้เฉพาะเลข 0 และ 1 เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะเข้าใจการทำงานเพียง 2 สถานะ คือ ปิด และ เปิด เราจึงใช้ระบบเลขฐานสองนี้เป็นตัวกำหนดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในการที่จะสามารถเข้าใจว่าเลข ฐานสองจะทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไรนั้น เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับ บิต (bit) และ ไบต์ (byte) เสียก่อน บิตจะเก็บค่า ของเลขฐานสองไว้ คือ 0 = ปิด และ 1 = เปิด 8 บิตจะเท่ากับข้อมูล 1 ไบต์ ตัวอย่างเช่น 01000001 เป็น 1 ไบต์ของตัว อักขระ A เมื่อใด ก็ตามที่เรากดแป้นบนแผงแป้นอักขระเพื่อพิมพ์ตัว A ไบต์จะเคลื่อนที่ไปยังคอมพิวเตอร์ แฟ้มเลขฐาน สอง (binary file) ซึ่งเป็นโปรแกรมแฟ้มที่บรรจุข้อมูลของบิตและไบต์จะบอกคอมพิวเตอร์ว่าควรจะทำงานได้อย่างไร

bit บิต

ย่อมาจาก Binary Digit หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในระบบคอมพิวเตอร์ มีค่าข้อมูลเป็นตัวเลขระบบฐานสอง คือ 0 และ 1 บิต มักใช้เป็นหน่วยวัดความสามารถของไมโครโพรเซสเซอร์ในการประมวลผลข้อมูล เช่น 16 บิต หรือ 32 บิต เป็นต้น 4 บิต เท่ากับ 1 นิบเบิล (nibble) และ 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์

การที่จะเข้าใจบิตได้ดีเราควรทำความรู้จักกับไบต์เสียก่อน 1 ไบต์เป็นกลมของ 8 บิตและจะใช้แทนตัวอักขระหรือตัวเลข ด้วยเลข 0 ถึง 9 ตัวอย่างเช่น ไบต์ 01000001 คืออักขระ A เลข 0 หรือ 1 ในไบต์ก็คือ 1 บิต ซึ่งแสดงถึงสถานะ 1 ใน 2 สถานะ คือ 0 = ปิด และ 1 = เปิด การรวมของตัวเลข 0 และ 1 ในลักษณะต่างๆ ให้เป็นชุด 8 ตัวจะแทนข้อมูลทั้งหมดใน คอมพิวเตอร์ ส่วนมากแล้วเรามักจะไม่กล่าวถึงบิตและนิบเบิลมากนัก แต่เรามักจะกล่าวถึงไบต์ เช่น กิโลไบต์ เมกะไบต์ หรือจิกะไบต์ เป็นส่วนมากทั้งสิ้น

Boolean Search การค้นหาแบบบูล

วิธีการคำนวณหาข้อมูลโดยใช้ค่าตรรกะของ ถูก และ ผิด และใช้หลักพีชคณิตและเลขระบบฐานสองด้วยการใช้ AND, OR และ NOT ร่วมกับการหาข้อมูลแบบปกติ วิธีการนี้ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อจอร์ช บูล (George Boole)

bridge บริดจ์

อุปกรณ์ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ที่ทำให้ข่ายงาน 2 ข่ายงานสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ถึงแม้ว่าข่ายงานทั้ง สองนั้นจะมีลักษณะรูปทรงเรขาคณิตที่แตกต่างกันหรือใช้กฎเกณฑ์การสื่อสารที่ต่างกันก็ตาม

buffer ที่พัก (ข้อมูล), บัฟเฟอร์

ที่พักข้อมูลชั่วคราวเพื่อส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์อื่นๆ หรือส่งข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นมายังคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ เนื่องจากในบางครั้งอัตราความเร็วในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ กับหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์จะมีอัตราไม่ เท่ากัน คอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำสำรอง เพื่อเก็บพักข้อมูลไว้ก่อนชั่วคราวโดยเก็บไว้ในบัฟเฟอร์นี้ เมื่อ การโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งก็จะทำให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องได้ ตัวอย่างของบัฟเฟอร์ที่เห็นได้ชัด อย่างหนึ่ง คือ บัฟเฟอร์ของเครื่องพิมพ์ เมื่อใดที่เรามีการพิมพ์เอกสาร โปรแกรมจะส่งข้อมูลที่จำเป็นในการพิมพ์ไปยัง หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์ซึ่งก็คือ ส่งไปยังบัฟเฟอร์ของเครื่องพิมพ์นั้นเอง เครื่องพิมพ์จะอ่านข้อมูลที่จำเป็นเหล่านี้ ถ้าเรายกเลิกการพิมพ์ จะสังเกตเห็นได้ว่าเครื่องพิมพ์จะยังคงพิมพ์อยู่ชั่วระยะเวลาสั้นๆ ครู่หนึ่งก่อนจะหยุดพิมพ์ ทั้งนี้เนื่องจากยังคงมีข้อมูลค้างอยูในบัฟเฟอร์นั่นเอง

เมื่อมีการใช้ซีดี-รอมในการเล่นในสื่อหลายแบบ ที่พักข้อมูลชั่วคราวของหน่วยขับซีดี-รอมควรมีขนาดความจำตั้งแต่ 64-256 กิโลไบต์เพื่อเป็นที่เก็บข้อมูลที่อ่านจากแผ่นมารอไว้ให้คอมพิวเตอร์อ่านต่อไป

C

central processing unit (CPU) หน่วยประมวลผลกลาง (ซีพียู)

หน่วยเก็บที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นหน่วยสำคัญที่สุดเปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหน่วยต่างๆ ให้ทำงานประสานสอดคล้องกัน หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนโดยประกอบรวมกันอยู่บนชิปเล็กๆ เพียงชิ้นเดียว เรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (microprocessor) ส่วนต่างๆ เหล่านี้ได้แก่

1. หน่วยเรจิสเตอร์ (register) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่ส่งจากหน่วยความจำหลักและข้อมูลที่จะนำไปใช้ประมวลผล

2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logical unit : ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ และตรรกะ

3. หน่วยควบคุม (control unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทุกส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ส่วนรับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง และส่วนแสดงผล ให้ทำงานสอดคล้องกัน

channel ช่อง, ช่องสัญญาณ, ช่องสื่อสาร ใช้ได้ 2 ความหมาย ดังนี้

1. ช่องสื่อสารข้อมูลระหว่างหน่วยรับข้อมูลและหน่วยแสดงผล หรือระหว่างหน่วยประมวลผลกลางกับอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์

2. ในความหมายของสื่อประสม (multimedia) หมายถึง ช่องสัญญาณเสียงสเตริโอซ้ายและขวาของจานวีดิทัศน์และจานคอมแพ็กต์

characters per second (cps) จำนวนอักขระต่อวินาที (ซีพีเอส)

หน่วยวัดความเร็วเป็นจำนวนอักขระใน 1 วินาทีของเครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (inkjet printer), เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer), เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot-matrix printer) และรวมถึงโมเด็มด้วย (ถึงแม้โมเด็มจะใช้วัดเป็นบิตต่อวินาทีก็ตาม) เครื่องพิมพ์แบบจุดที่ใช้กันอยู่ปกติแล้วจะมีความเร็วอยู่ะหว่าง 50-800 อักขระต่อวินาที ถ้าเป็นการพิมพ์งานที่มีคุณภาพสูงเครื่องพิมพ์จะพิมพ์อยู่ประมาณ 120 อักขระต่อวินาที แต่ถ้าเป็นการ
พิมพ์แบบร่าง (draft mode) จะอยู่ที่240อักขระต่อวินาที

client/server network ข่ายงานรับ/ให้บริการ

ข่ายงานซึ่งแฟ้มและโปรแกรมบางโปรแกรมมีการใช้ร่วมกันในระหว่างคอมพิวเตอร์ในข่ายงานนั้นซึ่งอยู่ในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) แต่จะมีทรัพยากรบางอย่างที่จำกัดให้ใช้ได้เฉพาะกับเครื่องบริการแฟ้มข้อมูล (File Server) เท่านั้น ในขณะที่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่จำกัดไว้นี้ได้

command คำสั่งงาน

การสั่งให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามต้องการ เช่น การพิมพ์แฟ้ม หรือการคัดลอกข้อความ เป็นต้น เครื่องคอมพิวเตอร์จะรับคำสั่งจากผู้ใช้ที่ส่งทางหน่วยรับข้อมูล ได้แก่ แผงแป้นอักขระ ปากกาแสง เมาส์ หรือการสัมผัสหน้าจอภาพ ในโปรแกรมทำงานด้วยคำสั่งงาน (command-driven programs) เราต้องกดแป้นที่กำหนดไว้หรือพิมพ์คำสั่งเพื่อให้ คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่สั่ง ในโปรแกรมทำงานด้วยรายการเลือก (menu-driven programs) จะใช้การเลือกคำสั่งจากรายการเลือกบนจอภาพ ในขณะนี้มีการใช้เสียงโดยใช้เทคโนโลยีการดำเนินการตามเสียง (voice-actuation technology) ในการ สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่พูด

communications protocol เกณฑ์วิธีการสื่อสาร

มาตรฐานที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในข่ายงานหรือโดยการใช้ระบบโทรคมนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ร่วมอยู่ในการสื่อสารนี้จะต้องมีการจัดระบบอย่างเดียวกันและมีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่เหมือนกันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น เมื่อเราใช้โมเด็มในการเข้าถึงศูนย์รวมข่าว (BBS) หรือบริการสารสนเทศเชื่อมตรง เช่น คอมพิวเซิร์ฟ (CompuServe) เราต้องใช้กฎเกณฑ์การสื่อสารตามที่บริษัทซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (host computer) จัดวางไว้เพื่อเป็น การจัดเตรียมเพื่อบอกคอมพิวเตอร์ว่าจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอย่างไร ได้แก่

Baud rate ความเร็วที่โมเด็ม 2 เครื่องมีการส่งผ่านข้อมูลระหว่างกัน

Parity ทดสอบสภาพของข้อมูลที่ส่งและรับ

Data bits ระบุจำนวนบิต ของข้อมูลในการส่ง ปกติแล้วจะจัดที่ 8

Stop bits ระบุจำนวนบิตที่ใช้เป็นสัญญาณในการสิ้นสุดการส่งข้อมูล ปกติแล้วจะ จัดไว้ที่ 1

Duplex บอกคอมพิวเตอร์ว่าจะส่งและรับข้อมูลในเวลาเดียวกัน (full)หรือจะส่งหรือรับข้อมูลแต่ไม่ใช่ในเวลาเดียวกัน (half)ปกติจะจัดไว้ที่ full

Computer-Aided Manufacturing (CAM) การผลิตใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (แคม)

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยอำนวยความสะดวกในการควบคุมเครื่องจักรและการผลิตในโรงงาน เช่น การควบคุมจำนวนสินค้า การบรรจุหีบห่อ เป็นต้น รวมถึงการวางแผนการใช้วัสดุในการผลิตสินค้าด้วย

CONFIG.SYS

แฟ้มที่รวมคำสั่งต่างๆ เพื่อบอกระบบปฏิบัติการว่าจะมีการทำงานอย่างไร เมื่อเราทำการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการจะอ่านแฟ้ม CONFIG.SYS และทำงานตามคำสั่งต่างๆ คำสั่งเหล่านี้อาจเป็นการบอกระบบว่าจะจัดการกับหน่วยความจำอย่างไร มีแฟ้มกี่แฟ้มที่จะเปิดขึ้นในหนึ่งครั้ง และโปรแกรมใดบ้างที่จะใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์

connectionless protocol เกณฑ์วิธีที่ไม่มีการเชื่อมต่อ

มาตรฐานที่ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) เป็นไปได้โดยสะดวก โดยจะไม่มีความพยายามในการที่จะตัดสินว่าคอมพิวเตอร์ที่รับนั้นอยู่ในสายเชื่อมตรง (on-line) หรือ มีความสามารถที่จะรับข้อมูลได้หรือไม่ สิ่งนี้เป็นกฎเกณฑ์รากฐานในข่ายงานแบบการสวิตช์กลุ่มข้อมูล (packet-switching network) ดังเช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งหน่วยของข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็นบล็อกหรือกลุ่มข้อมูล (packet) เล็กๆ โดยที่ในกลุ่มนี้จะมีข้อมูลบอกเลขที่ของเครื่องรับปลายทางบรรจุอยู่ กฎเกณฑ์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อที่ใช้ใน อินเทอร์เน็ต ได้แก่ อินเทอร์เน็ต โพรโทคอล (Internet Protocol : IP) โดยจะเกี่ยวข้องเพียงแค่การแบ่งข้อมูลออกเป็นกลุ่ม เล็กๆ สำหรับการส่ง และการรวบรวมกลุ่มข้อมูลเล็กๆ เข้าด้วยกันเมื่อรับเข้ามาแล้วเท่านั้น

D

data ข้อมูล

ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพ ในรูปแบบที่สามารถนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เมื่อข้อมูลถูกนำเข้าไปและเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่มีความหมาย เช่น เอกสารข้อความหรือรายงานแล้ว จะเรียกว่า สารสนเทศ (information) ถึงแม้ว่าคำ data จะเป็นคำพหูพจน์ ของคำ datum ในภาษาลาติน ก็ตาม แต่เราก็มักใช้ data ทั้งในความหมายของเอกพจน์และพหูพจน์

data bank คลังข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลจำนวนมากเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการใช้งาน นอกจากนี้ ยังหมายถึง สถานที่หรือแหล่งเก็บข้อมูลที่รวบรวมข้อมูลในรูปของสื่อบันทึกเก็บไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ หน่วยคอมพิวเตอร์ของสถาบันต่างๆ

database ฐานข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันเกี่ยวกับหัวข้อที่ได้ทำให้เป็นระบบ และจัดให้เป็นฐานสำหรับการค้นคืนข้อมูล การสรุปผล และการตัสินใจ การรวบรวมข้อมูลใดๆ ก็ตามเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านี้นับว่าเป็นฐานข้อมูลทั้งสิ้นถึงแม้ว่าจะไม่ได้รวบรวมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ตาม

device อุปกรณ์

ส่วนประกอบของเครื่อง (hardware component) หรืออุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม จอภาพ หรือเมาส์ ที่สามารถรับหรือส่งข้อมูลได้ อุปกรณ์บางอย่างต้องใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะร่วมด้วย เรียกว่า โปรแกรมขับอุปกรณ์ (device drivers)

dialup access การเข้าถึงโดยต่อหมายเลข

วิธีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งหรือกับข่ายงาน เช่น อินเทอร์เน็ต โดยการใช้โมเด็ม การเชื่อมโยงนี้จะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ตโดยผ่านผู้จัดหาบริการ (service provider) และจะทำให้คอมพิวเตอร์ของเราเป็นเครื่องปลายทางระยะไกล (remote terminal) ของคอมพิวเตอร์ของ ผู้จัดหาบริการ ผู้จัดหาบริการอินเทอร์เน็ตจะขายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตให้กับผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นการประหยัดและเป็น ประโยชน์มาก แต่ผู้ใช้จะไม่สามารถใช้โปรแกรมด้านกราฟิกได้เนื่องจากเป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์ ดู dialup IP ประกอบ

dialup IP เกณฑ์วิธีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยต่อหมายเลข

วิธีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตโดยตรงโดยผ่านทางโมเด็มและสายโทรศัพท์ ในการใช้การเข้าถึงตามกฎเกณฑ์นี้เราต้องติดตั้งตัวขับอุปกรณ์แบบจุดต่อจุด (PPP) หรือแบบอนุกรม (SLIP) เพื่อทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ของกฎเกณฑ์ควบคุมการส่งผ่านตามมาตรฐานอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) ด้วย และต้องมีโปรแกรมด้านกราฟิก เช่น เนตสเคป นาวิเกเทอร์ (Netscape Navigator) เพื่อเลือกอ่านเวิลด์ไวด์เว็บและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในระบบวินโดวส์

domain เขต

เขตในเลขที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต ระดับความสำคัญของเขตจะดูจากขวาไปซ้าย เขตขวาสุดซึ่งอยู่ หลังสุดของเลขที่อยู่จะเป็นเขตระดับสูงสุด (top-level domain) ซึ่งจะครอบคลุมชื่อทางซ้าย เขตขวาสุดจะบอกถึงระดับประเทศ และเขตซ้ายสุดจะบอกชื่อเครื่อง โดยแต่ละเขตจะมีจุด . แบ่งระดับชื่อเขต ตัวอย่างเช่น chulkn.chula.ac.th

th ชื่อเขตระดับสูงสุดซึ่งเป็นชื่อประเทศไทย

ac ระดับรองลงมา หมายถึง สถาบันการศึกษา (academy)

chula ชื่อหน่วยงาน คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

chulkn ชื่อเครื่องซึ่งอยู่ในเขตระดับต่ำสุดและเป็นชื่อเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม ในประเทศสหรัฐอเมริกา เขตระดับสูงสุดมักจะเป็นประเภทขององค์กรด้านต่างๆ ได้แก่ เขต ความหมาย

.com การพาณิชย์ (commercial)

.edu การศึกษา (educational) .

.gov รัฐบาล (goverment)

.mil การทหาร (military)

.org องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร (non-profit organization)

.net ข่ายงาน (network) แต่ภายนอกสหรัฐอเมริกานั้น เขตในระดับสูงที่สุดจะเป็นชื่อของประเทศ เช่น ประเทศไทย .th ประเทศแคนาดา .ca เป็นต้น

domain name ชื่อเขต

ชื่อซึ่งระบุที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ (host) ที่เชื่อมโยงในอินเทอร์เน็ตโดยเป็นชื่อสมบูรณ์ของที่ตั้งของ อินเทอร์เน็ตนั้นอันประกอบด้วย ชื่อของคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต (host name) เขตย่อย (subdomain)และเขตระดับสูงสุด (domain) โดยสิ่งเหล่านี้จะแยกจากกันโดยใช้จุด . (dots) ตัวอย่างเช่น watt.seas.virginia.edu เมื่ออ่านจากซ้ายไปขวาจะเป็นการอ่านจากชื่อเฉพาะซึ่งเป็นชื่อเขตระดับต่ำสุดไปยังเขตในระดับสูงสุด คือ watt เป็นชื่อเฉพาะของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นเครื่องหนึ่งในจำนวน 600 เครื่องของมินิคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการอยู่ใน seas คือคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (School of Engineering and Applied Science) ณ มหาวิทยาลัยแห่งเวอร์จิเนียvirginia (University of Virginia) และในส่วนท้ายของชื่อเขตนี้เป็นเขตในระดับสูงสุด คือ edu ซึ่งรวมวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยทั้งหมดทั่วสหรัฐอเมริกาอยู่ในเขตนี้ ดู Domain Name System ประกอบ

domain name address เลขที่อยู่ชื่อเขต

เลขที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตที่ประกอบด้วยชื่อของคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ต (host name) เขตย่อย (subdomain) และเขตระดับสูงสุด (domain) ซึ่งตรงข้ามกับเลขที่อยู่ของ IP (IP address) ที่มีเฉพาะตัวเลขเท่านั้น เลขที่อยู่ชื่อของเขตนี้เรียกอย่างเต็มๆ ว่า fully qualified domain name ดู domain และ domain name ประกอบ

dynamic random-access memory (DRAM) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่มแบบพลวัต (ดีแรม)

ชิปของหน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM chip) ที่ใช้หน่วยเก็บประจุสำหรับเก็บประจุไฟฟ้า เนื่องจากหน่วยเก็บประจุมักจะสูญเสียประจุไฟฟ้าได้ง่าย ชิปดีแรมจึงต้องมีการอัดกระแสไฟฟ้าอยู่เสมอ ชิปดีแรมมักใช้ในแผงวงจรตัวปรับต่อภาพที่ราคาถูกเพื่อเก็บภาพเอาไว้ ดู static random-access memory (SRAM) ประกอบ

E

electroic mail address ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ชุดอักขระที่ระบุเฉพาะเจาะจงถึงตำแหน่งที่อยู่ของตู้ไปรษณีย์ของบุคคลในการใช้ไปรษณีย์อิเล็ก-ทรอนิกส์ การใช้ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เนตจะประกอบด้วยชื่อของบุคคล เช่น mkidanan และตามด้วยสัญลักษณ์ @ และชื่อของเขต เช่น mkidanan@netserv.chula.ac.thหมายถึง mkidanan ชื่อของผู้ใช้ (User ID)netserv ชื่อเครื่อง (host) ที่เราติดต่อไปซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกับอินเทอร์เน็ต chula.ac.th ชื่อเขต โดยแยกย่อยได้ดังนี้ chula จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ac สถาบันการศึกษา th ประเทศไทย

F

file แฟ้ม, แฟ้มข้อมูล

เอกสารหรือการรวบรวมข้อมูลลงบนจานบันทึกและระบุเป็นหน่วยหนึ่งโดยมีชื่อเฉพาะ ตัวอย่างของแฟ้มข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมใช้งานและแฟ้มเอกสารต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมาและใส่ชื่อให้แก่แฟ้มข้อมูลนั้น เราจะสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นมาเมื่อเรา พิมพ์ข้อความหรือวาดภาพและให้ชื่อแก่สิ่งที่เราสร้างนั้น แล้วเก็บบันทึกลงจานบันทึก เมื่อใดก็ตามที่เราเก็บบันทึกแฟ้มข้อ มูลลงบนจานบันทึก ข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกอยู่อย่างกระจัดกระจายเป็นกลุ่มต่างๆ (clusters) มากมายหรือบางทีอาจเป็นร้อยๆ กลุ่ม ตารางแบ่งแฟ้ม (file allocation table) จะเปรียบเสมือนเป็นดรรชนีเพื่อที่จะเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลนั้นเข้าด้วยกันเพื่อรวบรวมเป็นแฟ้มหนึ่ง อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ใช้แล้ว แฟ้มข้อมูลจะปรากฏเป็นหน่วยต่างๆ บนสารบบของจานบันทึกเพื่อสำหรับค้นคืนและคัดลอกข้อมูลในแฟ้มนั้น

file allocation table (FAT) ตารางแบ่งแฟ้ม

เป็นตารางที่ซ่อนอยู่ในทุกๆ กลุ่ม(cluster) บนแผ่นบันทึกหรือจานบันทึกแบบแข็ง ตารางแบ่งแฟ้มจะบันทึกว่าแฟ้มข้อมูล ถูกเก็บบันทึกเป็นกลุ่มต่างๆ อย่างแน่นอนและไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องกัน นอกจากนี้ยังเป็นตารางบอกตำแหน่งเนื้อที่ว่างและ ตำแหน่งที่อยู่ของแฟ้มต่างๆ ที่เก็บอยู่บนแผ่นหรือจานบันทึกด้วย
file format รูปแบบแฟ้ม
แบบแผนและมาตรฐานที่โปรแกรมใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูลลงจานบันทึก โปรแกรมบางโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลในรูป แบบรหัสแอสกี แต่ส่วนมากแล้วจะใช้รูปแบบที่เหมาะสมของแต่ละแฟ้มที่โปรแกรมอื่นๆ ไม่สามารถอ่านได้ เมื่อใดก็ตามที่เราสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นมาในโปรแกรมหนึ่งไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือภาพก็ตาม แฟ้มนั้นจะถูกเก็บบันทึกด้วยรหัสเพื่อบอกให้โปรแกรมนั้นแสดง พิมพ์ และดำเนินการตามรหัสของโปรแกรมนั้น ถ้าเราต้องการเปิดแฟ้มนั้นใน โปรแกรมใช้งานอื่น เราต้องแปลงแฟ้มนั้นให้เป็นรูปแบบที่โปรแกรมที่ใช้เปิดแฟ้มเข้าใจได้ มีหลายๆ ครั้งที่เราสามารถ บอกรูปแบบแฟ้มและ/หรือฟังก์ชันโดยใช้ส่วนขยายชื่อแฟ้ม เช่น .BAK หรือ .BK! หมายถึงแฟ้มสำรอง .HLP แฟ้มช่วย เหลือ และ .WP หรือ .WPF แฟ้มเอกสารของโปรแกรมเวิร์ดเพอร์เฟ็กต์ (WordPerfect) เหล่านี้เป็นต้น

File Transfer Protocol (FTP) เกณฑ์วิธีการถ่ายโอนแฟ้ม (เอฟทีพี)

มาตรฐานในอินเทอร์เนตสำหรับการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล โดยจะเป็นการบรรจุลง (download) แฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นในอินเทอร์เนตมาไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา หรือจะเป็นการบรรจุขึ้น (upload) แฟ้มข้อมูลของเราส่งไปยังศูนย์ บริการตามกฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้มก็ได้เช่นกัน FTP (พิมพ์ด้วยอักษรตัวใหญ่) จะเป็นชุดกฏเกณฑ์เฉพาะที่ประกอบด้วย ftp (พิมพ์ด้วยอักษรตัวเล็ก) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการติดต่อสื่อสารแบบไม่ประสานจังหวะ ดู file transfer protocol (ftp) ประกอบ

ในการใช้กฎเกณฑ์การถ่ายโอนแฟ้มนี้ เราต้องเริ่มต้นด้วยการเป็นผู้รับบริการหรือเป็นสมาชิกเอฟทีพี โดยจะมีโปรแกรมใช้งานที่ช่วยให้เราสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในอินเทอร์เนตและแลกเปลี่ยนหรือถ่ายโอนแฟ้มระหว่างกันได้ ในการเข้าถึงคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นนั้น เราต้องมีชื่อลงบันทึกเข้า (login name) และรหัสผ่าน หลังจากนั้นเราจะสามารถเข้าถึงระบบสารบบแฟ้มของคอมพิวเตอร์และสามารถทำการบรรจุลงหรือบรรจุขึ้นแฟ้มต่างๆ ที่ต้องการได้ สิ่งยกเว้นอย่างหนึ่งได้แก่ เอฟทีพีที่ไม่ระบุชื่อ (anonymous FTP) ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เนตที่เป็นสมาชิกของเอฟทีพีสามารถเข้าถึงแฟ้มที่เก็บ บันทึกได้ แต่ต้องพิมพ์คำว่า anonymous แทนชื่อลงบันทึกเข้า และต้องใส่เลขที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนรหัส ผ่าน โปรแกรมสำรวจข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บหลายๆ โปรแกรมสามารถช่วยให้สมาชิกเอฟทีพีสามารถบรรจุลงแฟ้มจากเอฟ ทีพีที่ไม่ระบุชื่อได้

forgery การปลอมแปลงข่าวสาร

ข้อความในยูสเนตหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เขียนโดยใครก็ตามที่ไม่ระบุชื่อผู้เขียนอย่างแน่ชัด ทั้งนี้เนื่องจาก ซอฟต์แวร์ในอินเทอร์เนตสามารถช่วยให้บุคคลใดก็ได้ที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคแม้เพียงเล็กน้อยก็สามารถปลอมแปลงข่าวสารได้ การปลอมแปลงข่าวที่มีชื่อเสียงมากข่าวหนึ่งในปี ค.ศ. 1995 ได้แก่ข่าวที่ประกาศว่า บริษัทไมโครซอฟต์ ได้ซื้อ โบสถ์โรมันคาทอลิคไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งบริษัทได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้อย่างสิ้นเชิง

G

gateway เกตเวย์, ประตูสื่อสาร

ช่องทางสำหรับเชื่อมต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่ต่างชนิดกันให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยทำให้ผู้ใช้ บริการของคอมพิวเตอร์หนึ่งหรือในข่ายงานหนึ่งสามารถติดต่อเข้าสู่ครื่องบริการหรือข่ายงานที่ต่างประเภทกันได้ ทั้งนี้โดยการใช้ อุปกรณ์ที่เรียกว่า บริดจ์ (bridges) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการแปลข้อมูลที่จำเป็นให้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เนตสามารถแลกเปลี่ยนข้อความกับผู้ใช้ในคอมพิวเซิร์ฟ (CompuServe) ซึ่งเป็นบริษัทบริการข้อ มูลเชื่อมตรงแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาได้โดยทางเกตเวย์ และด้วยลักษณะเดียวกันนี้ ผู้อ่านในการเลือกอ่านในเว็บ สามารถ เข้าถึงบริการของอาร์คี (Archie) ได้โดยผ่านทางหน้าเว็บ (Web page) ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นเกตเวย์ของอาร์คี ดู CompuServe และ Archie ประกอบ
นอกจากนี้ในด้านของข่ายงาน เกตเวย์ยังเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สองข่ายงานที่มีลักษณะไม่เหมือนกันให้สามารถเชื่อมต่อกันได้ หรือจะเป็นการเชื่อมต่อข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เข้ากับข่ายงานบริเวณกว้าง (WAN) หรือต่อเข้ากับมินิคอมพิวเตอร์ หรือต่อเข้ากับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเกตเวย์มี ไมโครโพรเซสเซอร์และหน่วยความจำของตนเอง

gigabyte จิกะไบต์, กิกะไบต์

หน่วยของการวัดมีค่าโดยประมาณเท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ ซึ่งมีค่าจริง คือ 1,073,741,824 ไบต์ จิกะไบต์จะใช้เพื่อระบุจำนวนของหน่วยความจำหรือความจุของจานบันทึก หนึ่งจิกะไบต์มีค่าโดยประมาณเท่ากับหนึ่งพันเมกะไบต์

H

hacker ethic จริยธรรมของเซียนคอมพิวเตอร์


หลักเกณฑ์ทางศีลธรรมจรรยาที่ทราบกันดีในหมู่ชนที่เป็นเซียนคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก (ประมาณ ค.ศ. 1965-1982) ที่กล่าวถึงไว้โดยสทีเวน เลวี (Steven Levy) ตามหลักจริยธรรมของเซียนคอมพิวเตอร์แล้ว ข้อมูลทางเทคนิคทุกอย่างซึ่งใน ทางหลักการแล้วควรให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเสรีแก่ทุกคน ดังนั้น การเข้าไปในระบบเพื่อค้นหาข้อมูลและเพิ่มพูนความรู้จึง ไม่เป็นสิ่งที่ผิดจริยธรรมแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หากเป็นการทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือเคลื่อนย้ายข้อมูลในทางที่ทำให้ผู้ อื่นเสียหายจะเป็นสิ่งที่ผิดจรรยาบรรณอย่างยิ่ง ที่ยิ่งขึ้นกว่านี้คือ การเจาะเข้าไปในระบบฐานข้อมูลเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายด้วย ดู cracker, cyberpunk, cyberspace, และ hack ประกอบ

HyperText Markup Language (HTML) ภาษาทำเครื่องหมายไฮเพอร์เท็กซ์ (เอชทีเอ็มแอล)

ชุดของแบบแผนในการทำเครื่องหมายส่วนต่างๆ ของข้อความเพื่อที่ว่าเมื่อเข้าถึงโปรแกรมที่เรียกว่า พาร์เซอร์ (parser ซึ่ง เป็นโปรแกรมที่แบ่งข้อมูลส่วนใหญ่ให้เล็กลงเพื่อง่ายต่อการแปลความหมาย) ส่วนต่างๆ เหล่านั้นจะปรากฏขึ้นในรูปแบบ ต่างๆ กัน เอชทีเอ็มแอลเป็นภาษาในการทำเครื่องหมายที่อยู่เบื้องหลังเอกสารต่างๆ ในเวิลด์ไวด์เว็บและโปรแกรมที่แบ่งข้อ มูลให้เล็กลง (parser programs) เพื่อเข้าถึงเอกสารเหล่านี้เรียกว่า การเลือกอ่านในเว็บ (Web browsers) เอชทีเอ็มแอลยังรวม ความสามารถในการที่ให้ผู้เขียนสามารถแทรกจุดเชื่อมโยงหลายมิติ (hyperlink) ซึ่งเมื่อคลิกที่จุดเชื่อมโยงแล้วจะมีเอกสาร ในลักษณะเอชทีเอ็มแอลที่เชื่อมโยงข้อมูลกันปรากฏขึ้นมาอีก เมื่อเราเข้าถึงอินเทอร์เนตแล้ว เราสามารถใช้เครื่องมือ ในการสร้างหน้าเว็บ (Web page) ได้โดยการใช้ภาษาทำเครื่องหมายไฮเพอร์เท็กซ์ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า เอชทีเอ็มแอล นี้ได้โดยสะดวกรวดเร็ว เอชทีเอ็มแอลประกอบด้วยป้ายระบุ (tags) ที่ให้คำสั่งแก่ซอฟต์แวร์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น ป้ายระบุจะประกอบด้วยหัวเรื่องที่ 1 (headline 1) มีลักษณะดังนี้

These tags make a big headline


ป้ายระบุเอชทีเอ็มแอลจะบอกการเลือกอ่านในเว็บว่าจะแสดงส่วนต่างๆของเอกสาร เช่น หัวเรื่อง หัวข้อ และเนื้อเรื่อง ใน ลักษณะอย่างไรบ้าง การใส่รหัสเอชทีเอ็มแอลกำกับข้อความดังตัวอย่างข้างบนนั้นจะเป็นการแปลงข้อความให้เป็นไปตามลักษณะ ของรหัสที่กำกับไว้กระบวนการของการสร้างเอกสารเอชทีเอ็มแอล เรียกว่า การประพันธ์ หรือ การเขียน (authoring) เราสามารถเขียนข้อความเอชทีเอ็มแอลได้โดยการแก้ไขปรับปรุงเอกสารธรรมดาที่มีอยู่โดยใช้โปรแกรมบรรณาธิกรณ์เอชทีเอ็มแอล (HTML editor)เช่น โปรแกรมเอฟซิกดิ (Fxicdi), หรือโปรแกรมผู้ช่วยเอชทีเอ็มแอล (HTML Assistant) นอกจากนั้น ยังสามารถเพิ่มโปรแกรมต่างๆ ที่มีความสามารถในการแก้ไขให้เป็นลักษณะเอชทีเอ็มแอลเข้าไปในโปรแกรมประมวลคำ เช่นไมโครซอฟต์ เวิร์ดก็ได้เพื่อทำข้อความในเอกสารนั้นให้มีลักษณะเป็นเอชทีเอ็มแอล ในโปรแกรมอโดบี เพจเมกเคอร์ 6.0(Adobe PageMaker 6.0) จะมีโปรแกรมในการทำเอชทีเอ็มแอลประกอบอยู่เรียบร้อยแล้ว

I

information สารสนเทศ

ข้อมูล -ในรูปแบบของตัวเลข ข้อความ หรือภาพกราฟิก- ที่ได้นำมารวบรวม จัดเป็นระบบ และนำเสนอในรูปแบบที่ผู้ดูสามารถเข้าใจได้อย่างแจ่มชัด ไม่ว่าจะเป็นรายงาน ตาราง หรือแผนภูมิต่างๆ ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิ ความชื้น และความ แรงของลมที่สถานีพยากรณ์อากาศรายงานจะมาเป็นข้อมูลตัวเลข แต่เมื่อคอมพิวเตอร์นำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลและ พยากรณ์ว่าจะเกิดลมทอร์นาโด การพยากรณ์ของคอมพิวเตอร์นับว่าเป็นสารสนเทศ ดังนี้เป็นต้น

Integrated Services Digital Network (ISDN) โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ไอเอสดีเอ็น)

โครงข่ายที่พัฒนามาจากโครงข่ายโทรศัพท์แบบดิจิทัล โดยการผนวกโครงข่ายโทรศัพท์และโครงข่ายระบบข้อมูลเข้าเป็นโครงข่ายเดียวกัน ไอเอสดีเอ็นสามารถรับส่งสัญญาณจากการสื่อสารระบบต่างๆ เช่น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม สาย เคเบิลใต้น้ำ และจะถ่ายทอดสัญญาณดิจิทัลเพื่อให้บริการได้หลายรูปแบบในเวลาเดียวกันด้วยความเร็วสูง ถูกต้อง และประหยัด โดยใช้สัญญาณผ่านเส้นใยแก้ว นำแสง เส้นใยแก้วนำแสงแต่ละเส้นจะใช้แทนที่ชุมสายของอุปกรณ์แต่ละ ประเภท ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ปลายทางของตนเข้ากับโครงข่ายนี้เพื่อรับสัญญาณหลายรูปแบบ ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษรได้ในเวลาเดียวกันอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน เลขหมายไอเอสดีเอ็นหนึ่งหมายเลขสามารถพ่วงเครื่องปลายทาง (เช่น โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ ฯลฯ) ได้สูงสุด 8 เครื่อง และสามารถใช้บริการในช่วงเวลาเดียวกันได้ 2 เครื่อง เช่น ในขณะที่พูดโทรศัพท์อยู่ก็สามารถส่งโทรสารได้ด้วย เป็นต้น

บริการไอเอสดีเอ็นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

- อัตราพื้นฐาน (Basic Rate ISDN : BRI) สำหรับผู้ใช้ทั่วไป มีความเร็วในการส่ง 64,000 บิต ต่อวินาที ใน 2 ช่องสัญญาณเพื่อส่งเสียง ภาพกราฟิก และข้อมูลอื่นๆ รวมกับหนึ่งช่อง 16,000 บิตต่อวินาทีสำหรับการส่งสัญญาณเฉพาะอย่าง

- อัตราขั้นต้น (Primary Rate ISDN : PRI) มี 23 ช่องสัญญาณด้วยความเร็วในการส่ง 64,000 บิตต่อวินาที

- อัตราแถบกว้าง (Broadband ISDN : B-ISDN) กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา จะมีความเร็วในการส่ง 150 ล้านบิตต่อวินาที

Internet อินเทอร์เนต

ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ การสื่อสารข้อมูล เช่น การบันทึกเข้าระยะไกล (remote login) การถ่ายโอนแฟ้ม ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอภิปราย อินเทอร์เนตเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อการเข้าถึงของแต่ละ ระบบที่มีส่วนร่วมอยู่อินเทอร์เนตนี้เกิดขึ้นแต่เริ่มแรกในชื่อ อาร์พาเนต (ARPAnet) ที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการสถาบันทางการทหารของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการทหารและการสื่อสารต่างๆ ซึ่งต่อมาได้ยอมให้มหาวิทยาลัย ต่างๆ และสถาบันด้านการทหารเริ่มติดต่อสื่อสารเข้ามาได้หากมีเรื่องด่วนระดับชาติ เนื่องจากเทคโนโลยีได้ยอมให้ระบบ ใดๆ ก็ได้เชื่อมโยงเข้ามาโดยผ่านทางเกตเวย์ ดังนั้น จึงมีระบบคอมพิวเตอร์ที่รวมกันนับพัน ซึ่งรวมถึงระบบไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทที่หวังผลกำไร เช่น เอ็มซีไอ (MCI) และคอมพิวเซิร์ฟ (CompuServe) ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่ง ของอินเทอร์เนต ด้วยจำนวนคอมพิวเตอร์แม่ข่ายมากกว่า 2 ล้านแห่งและมีผู้ใช้ประมาณ 20 ล้านคน จึงทำให้อินเทอร์เนตกำลังจะระเบิดด้วยอัตราของผู้ใช้ใหม่ๆ เป็นจำนวนล้านในแต่ละเดือน

interrupt ขัดจังหวะ

สัญญาณที่ส่งไปยังไมโครโพรเซสเซอร์เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีเหตุการณ์หนึ่งได้เกิดขึ้นและต้องการความสนใจจากคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำทุกสิ่งได้ในเวลาเดียวกัน ถ้าคอมพิวเตอร์กำลังประมวลผลอยู่แล้วเราไปพิมพ์ข้อความ เข้า คอมพิวเตอร์ต้องเลือกว่าจะทำอย่างไร ควรจะประมวลผลต่อไปหรือรับข้อมูลที่พิมพ์เข้า เมื่อใดก็ตามที่เราต้องการ ความสนใจในลักษณะนี้ (โดยการพิมพ์หรือเลื่อนเมาส์) จะเป็นการขัดจังหวะโปรแกรมและบังคับให้มีการเลือกเกิดขึ้น การขัดจังหวะเช่นนี้เรียกว่า ขัดจังหวะฮาร์ดแวร์ (hardware interrupt) ซึ่งเกิดจากการใช้แผงแป้นอักขระหรือเมาส์

Intranet อินทราเนต

การใช้เทคโนโลยีของอินเทอร์เนตและเวิลด์ไวด์เว็บให้จำกัดอยู่ภายในองค์กร เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ใช้ในการค้นหา จัดการ และความร่วมมือระหว่างกันในการสร้างและเผยแพร่สารสนเทศ รวมถึงการจัดการเอกสารขนาดใหญ่ที่ เก็บไว้ในองค์กรนั้น หรือกล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ อินทราเนตเป็นที่ตั้งเว็บที่อยู่ภายในองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานใน ลักษณะของข่ายงานที่ร่วมมือกัน โดยมีการใช้กฎเกณฑ์เดียวกับที่ใช้ในอินเทอร์เนต

ปกติแล้วในองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ จะมีข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) เป็นของตนเองอยู่แล้วโดยแบ่งเป็นหลายๆ ข่าย งาน แต่ข่ายงานนั้นจะสามารถใช้ได้เฉพาะเพียงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น ดังนั้น เมื่อมีการนำข่ายงานบริเวณเฉพาะที่เหล่านั้นมา เชื่อมโยงกันในลักษณะของอินทราเนตก็จะทำให้บุคคลในแต่ละข่ายงานมีศักยภาพในการติดต่อสื่อสารกันได้เพิ่มมากขึ้น โดยแทนที่จะใช้โครงแบบของข่ายงานแบบเดิม ผู้ใช้ในอินทราเนตจะทำการเชื่อมต่อกับที่ตั้งเว็บภายในหน่วยงานนั้นได้ และยังสามารถทำงานต่างๆ ภายในที่ตั้งเว็บนั้นได้ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับอินเทอร์เนตได้โดยง่าย หน่วยงานหรือบริษัทที่นำโครงแบบของอินทราเนตมาใช้จะสามารถประหยัดเงินได้เป็นอย่างมากในด้านต่างๆ เนื่องจากสามารถ ให้บุคคลในหน่วยงานนั้นสามารถเข้าถึงสารสนเทศภายในหน่วยงานและทั่วโลกได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

J

Joint Photographic Experts Group (JPEG) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาพถ่าย (เจเพ็ก)

คณะกรรมการของผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก ที่สนับสนุนร่วมกันโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) และคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศเกี่ยวกับโทรเลขและโทรศัพท์ (CCITT) ในการพัฒนามาตรฐานกราฟิกแบบเจเพ็ก (JPEG graphics)

Joint Photographic Experts Group (JPEG) graphic กราฟิกแบบกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภาพ

รูปแบบของกราฟิกที่เป็นแนวคิดอันดีเลิศสำหรับภาพของธรรมชาติในเชิงซับซ้อน ซึ่งรวมถึงภาพถ่าย ภาพศิลปะ และภาพวาด (รูปแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับภาพวาดลายเส้น ข้อความ หรือภาพการ์ตูนง่ายๆ) รูปแบบกราฟิกนี้ใช้ในการบีบอัดภาพแบบมีบางส่วนสูญหาย (lossy compression) เข้าช่วย โดยอาศัยหลักการมองเห็นของมนุษย์ที่ว่า การเปลี่ยนแปลงของสี เพียงเล็กน้อยจะสังเกตเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าการเปลี่ยนแปลงในความสว่าง การบีบอัดของเจเพ็กจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ตราบใด ที่ไม่ใช้สัดส่วนของการบีบอัดสูง โดยปกติแล้วเจเพ็กจะใช้สัดส่วนของการบีบอัด 10:1 หรือ 20:1 โดยเราจะไม่ สามารถสังเกตเห็นคุณภาพของภาพนั้นด้อยลง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ดีกว่าที่ใช้ในรูปแบบการเปลี่ยนระหว่างกราฟิก (GraphicsInterchange Format : GIF) รูปแบบของกราฟิกแบบเจเพ็กนี้ พัฒนาโดยคณะกรรมการของผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก (JPEG) ดู Joint Photographic Experts Group (JPEG) ประกอบ

L

liquid crystal display (LCD) จอภาพผลึกเหลว (แอลซีดี)

เทคโนโลยีการแสดงผลที่ใช้พลังงานน้อยและนิยมใช้ในคอมพิวเตอร์วางตัก รวมถึงอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น มิเตอร์ นาฬิกาแบบดิจิทัล และอุปกรณ์ตรวจวัด เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลเหล่านี้จะใช้คริสทัลโมเลกุลที่มีลักษณะเป็นแท่งกลมลอยอยู่ในของเหลว โมเลกุลเหล่านี้จะมีการจัดเรียงตัวใหม่ในลักษณะทึบแสงเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านทำให้มองเห็นเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรได้ การออกแบบจอภาพผลึกเหลวบางประเภทจะใช้จอภาพสว่างข้างหลัง (backlit screen) เพื่อทำให้อ่านได้ดีขึ้นแต่จะใช้พลังงานมากกว่าปกติ

local area network (LAN) ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (แลน)

การนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและคอมพิวเตอร์อื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ ที่อยู่ภายในบริเวณที่จำกัดเฉพาะที่ เช่น ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน มาเชื่อมโยงกันโดยสายเคเบิล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ใช้อุปกรณ์รอบข้างร่วมกัน รวมถึงใช้โปรแกรมและข้อมูลที่เก็บอยู่ในคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจที่เรียกว่า เครื่องบริการแฟ้ม (fileserver) การทำงานในลักษณะนี้จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ใช้ได้เนื่องจากสามารถใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ของข่ายงานได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อของตนเอง

ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่นี้จะมีขนาดและความซับซ้อนต่างๆ กัน ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่บางแห่งจะเป็นในลักษณะกลุ่มเล็กๆ เรียกว่า ข่ายงานสถานะเท่าเทียมกัน (peer-to-peer network) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์เพียง 2-3 เครื่องและเครื่องพิมพ์เลเซอร์เท่านั้น แต่ในบางแห่งที่มีลักษณะข่ายงานซับซ้อนขึ้นจะมีคอมพิวเตอร์ส่วนกลางเป็นเครื่องบริการแฟ้ม และให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมและเข้าถึงข้อมูลจากเครื่องบริการแฟ้ม และสื่อสารระหว่างกันโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

local bus บัสเฉพาะที่

เส้นทางข้อมูลความเร็วสูงที่เชื่อมโยงโดยตรงกับหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ด้วยช่องเสียบหนึ่งช่องหรือมากกว่าหนึ่งช่องบนบัสขยาย (expasion bus) การเชื่อมโยงโดยตรงนี้จะทำให้สัญญาณต่างๆ จากตัวปรับต่อ เช่น วีดิทัศน์ หรือตัวควบคุมจานบันทึกแบบแข็ง ไม่ต้องเดินทางผ่านบัสขยาย จึงทำให้สัญญาณเดินทางได้เร็วขึ้นเป็นอย่างมาก

M

mailbox name ชื่อตู้ไปรษณีย์

ส่วนหนึ่งของเลขที่อยู่ของแต่ละบุคคลในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เนต ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ทางซ้ายของสัญลักษณ์ @ โดยเป็นการระบุชื่อเฉพาะของเจ้าของตู้ไปรษณีย์นั้น ส่วนทางขวาของสัญลักษณ์ @ เป็นชื่อเขตของคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็น ที่อยู่ของตู้ไปรษณีย์ ชื่อตู้ปรษณีย์ของแต่ละคน มักจะเป็นชื่อเดียวกับชื่อของผู้นั้นที่ใช้ในการลงบันทึกเข้า ตัวอย่างเช่น
skit19@idt.liberty.com
skit19 เป็นชื่อตู้ไปรษณีย์โดยการระบุชื่อเจ้าของตู้ไปรษณีย์idt.liberty.com เป็นชื่อเขตของคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นที่อยู่ของตู้ไปรษณีย์

modem โมเด็ม

modem เป็นคำที่ย่อมาจาก modulator และ demodulator หมายถึง ตัวกล้ำและแยกสัญญาณ โมเด็มเป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อสามารถส่งผ่านไปทางสายโทรศัพท์ได้ และก็เช่นเดียวกันที่จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกที่ส่งมาให้กลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้ ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานด้วยระบบดิจิทัล แต่โทรศัพท์ทำงานในระบบแอนะล็อก ดังนั้น เมื่อจะส่งข้อมูลในระบบดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ผ่านไปทางสายโทรศัพท์จึงต้องใช้โมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณนั้นให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเสียก่อนจึงจะส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ และเมื่อสัญญาณนั้นส่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางแล้ว คอมพิวเตอร์เครื่องปลายทางนั้นก็ต้องมีโมเด็มเพื่อแปลงสัญญาณแอนะล็อกที่ส่งมาให้กลับเป็นสัญญาณดิจิทัลอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะส่งเข้าคอมพิวเตอร์ได้ เรามักจะใช้โมเด็มในการแลกเปลี่ยนโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ หรือใช้ในบริการสารสนเทศเชื่อมตรงเพื่อรับข่าวสารข้อมูลต่างๆ

ความเร็วที่โมเด็มใช้ในการส่งข้อมูลวัดเป็นหน่วยเรียกว่า บิตต่อวินาที (bits per second : bps) ซึ่งในทางเทคนิคแล้วจะไม่เป็นสิ่งเดียวกับ บอด (baud) ถึงแม้ว่าคำนี้จะมีการใช้สับเปลี่ยนกันได้ก็ตาม โมเด็มจะมีความเร็วในการทำงานแตกต่างกันในแต่ละเครื่อง ตั้งแต่ 2,400 บิตต่อวินาทีถึงเร็วสุด 28,800 บิตต่อวินาที

network ข่ายงาน, เครือข่าย, โครงข่าย, วงจรข่าย

ระบบการสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สร้างขึ้นโดยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่อง ขึ้นไป โดยใช้แผ่นวงจรต่อประสานข่ายงานและสายเคเบิล และทำงานด้วยระบบปฏิบัติการข่ายงาน (NOS) ข่ายงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในแต่ละข่ายงานจะแตกต่างกันไปตามลักษณะและส่วนประกอบดังนี้

- ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (local area network : LAN) เป็นข่ายงานที่เล็กที่สุด โดยอาจมีคอมพิวเตอร์เพียง 2-3 เครื่องและอุปกรณ์รอบข้างที่ราคาไม่แพงนัก เช่น เครื่องพิมพ์เลเซอร์เพียง 1 เครื่อง ในขณะที่ข่ายงานบางแห่งอาจมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 75 เครื่องขึ้นไปก็ได้

- ข่ายงานบริเวณกว้าง (wide area network : WAN) เป็นข่ายงานที่ขนาดใหญ่ขึ้น โดยการใช้สายโทรศัพท์หรืออุปกรณ์การสื่อสารอื่นๆ เพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันตั้งแต่ 10-1,000 ไมล์ให้เชื่อมโยงถึงกันได้ นอกจากนี้ ข่ายงานยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะรูปทรง เช่น ข่ายงานแบบดาว ในเรื่องของสถาปัตยกรรม เช่น แบบผู้รับริการ-ผู้ให้บริการ (client-server) และในเรื่องของมาตรฐาน การสื่อสาร เช่น มาตรฐานแอปเพิลทอล์ก (AppleTalk), อีเทอร์เนต (EtherNet) หรือวงแหวนโทเค็น (token ring) เหล่านี้เป็นต้น

O

operating system ระบบปฏิบัติการ

โปรแกรมควบคุมที่ทำหน้าที่จัดการการทำงานภายในของคอมพิวเตอร์และจัดเตรียมวิธีในการควบคุมการปฏิบัติงานของคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการจะรับคำสั่งจากผู้ใช้มาแปลความหมายแล้วส่งไปควบคุมให้เครื่องทำตามคำสั่งนั้น ระบบ ปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ เอ็มเอส-ดอส (MS-DOS), ระบบปฏิบัติการ/2 (OS/2), และไมโครซอฟต์ วินโดวส์ 98

R

random access การเข้าถึงโดยสุ่ม

เทคนิคการเก็บและค้นคืนสารสนเทศที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงสารสนเทศนั้นได้โดยตรงโดย ไม่ต้องไปเรียงตามลำดับของที่ตั้งต่างๆ จึงเป็นการเข้าถึงข้อมูลซึ่งใช้เวลาในการค้นหาได้เร็วเท่ากันหมด โดยไม่ขึ้นกับตำแหน่งที่เก็บไม่ว่าจะบันทึกอยู่ในส่วนใดของสื่อ ข้อมูลแต่ละข้อมูลสามารถเข้าถึงได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านข้อมูลอื่นๆ ก่อนให้เสียเวลา คำที่น่าจะใช้ให้สื่อความหมายของกระบวนการนี้ควรใช้ว่า direct access แต่ที่ใช้คำ random access เนื่องมาจากใช้ย่อจากคำ random-access memory นั่นเอง

random-access memory (RAM) หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (แรม)

หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า แรม เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ที่ใช้เก็บคำสั่งและข้อมูลเพื่อสามารถเข้าถึงโดยตรงในการควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง โดยผ่านทางบัสข้อมูลภายนอกความเร็วสูง ชื่อแรมมักจะเรียกว่าหน่วยความจำอ่าน/บันทึกเพื่อเป็นการ
แบ่งแยกจากหน่วยความจำอ่านอย่างเดียวหรือรอม (ROM) ซึ่งเป็นส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่งของหน่วยเก็บหลัก (primary storage) ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในแรมนี้เองที่หน่วยประมวลผลกลางสามารถบันทึกและอ่านข้อมูล โปรแกรมส่วนมากจะจัดส่วนของแรมไว้ต่างหากเพื่อเป็นเนื้อที่ทำงานชั่วคราวสำหรับข้อมูลของเรา เพื่อที่เราจะสามารถบันทึกทับใหม่ได้เท่าที่ต้องการจนกว่าข้อมูลนั้นจะถูกนำไปพิมพ์หรือเก็บในหน่วยเก็บรอง (secondary storage) เช่น จานบันทึกแบบแข็งหรือแผ่นบันทึก ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในแรมจะหายไปได้เมื่อมีการปิดเครื่องหรือเมื่อกระแสไฟดับ ดังนั้นเราจึงต้องเก็บบันทึกงานที่ทำอยู่ตลอดเวลาและก่อนที่จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล

read-only memory (ROM) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว (รอม)

หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์สำหรับเก็บคำสั่งไว้อย่างถาวรและยังคงมีคำสั่งเหล่านี้เก็บอยู่ ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องแล้วก็ตาม รอมจะบรรจุโปรแกรมระบบที่สำคัญไว้โดยที่เราหรือคอมพิวเตอร์เองก็ไม่สามารถลบทิ้งได้ทั้งนี้เพราะเป็นชิปที่ผู้ผลิตได้บรรจุคำสั่งไว้อย่างถาวร เนื่องจากหน่วยความจำภายในของคอมพิวเตอร์จะว่างเปล่าเมื่อมีการเปิดเครื่อง จึงทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานใดๆ ได้ถ้าไม่ให้คำสั่งในการเริ่มต้น ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะถูกเก็บอยู่ในรอมนั่นเอง

T
teleconference การประชุมทางไกล

การประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่โดยอาจอยู่ต่างเมืองหรือต่างประเทศก็ได้ แต่สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้โดยใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์ที่ใช้อาทิเช่น ลำโพง เครื่องขยายเสียง จอภาพคอมพิวเตอร์ เครื่องอ่านพิกัดภาพ และโทรศัพท์ เป็นต้น การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพและข้อความไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ได้ในชั่วพริบตา ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้

terminal เครื่องปลายทาง

อุปกรณ์ในการนำข้อมูลและคำสั่งเข้าระบบคอมพิวเตอร์และรับผลลัพธ์มาแสดงผล เครื่องปลายทางจะประกอบด้วยแผงแป้นอักขระและจอภาพโดยเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง แผงแป้นอักขระจะทำให้เราสามารถติดต่อกับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางได้ และจอภาพจะแสดงผลสิ่งที่คอมพิวเตอร์ส่งกลับมายังเรา เครื่องปลายทางนี้จะใช้ในระบบหลายผู้ใช้ (multiuser system)

เครื่องปลายทางบางเครื่องจะไม่มีหน่วยประมวลผลซึ่งนับว่าเป็นสมองของคอมพิวเตอร์อยู่ด้วยและไม่มีหน่วยขับจานบันทึกของตนเอง เรียกว่า เครื่องปลายทางใบ้ (dumb terminal) แต่บางเครื่องจะมีหน่วยประมวลผลหรืออาจมีหน่วยขับจานบันทึกอยู่ด้วยก็ได้เพื่อให้สามารถบรรจุลงสารสนเทศและนำมาแสดงผลภายหลัง เรียกว่า เครื่องปลายทางเก่ง (smart terminal) คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะนับว่าเป็นเครื่องปลายทางเมื่อมีการเชื่อมต่อกับข่ายงานไม่ว่าจะโดยการใช้สายเคเบิล หรือโมเด็มก็ตาม

token-ring network ข่ายงานวงแหวนโทเค็น

สถาปัตยกรรมข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) ที่รวมการผ่านของโทเค็นด้วยรูปแบบลูกผสมของข่ายงานแบบดาวและแบบวงแหวน
ข่ายงานนี้พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม และประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1986 โดยมีการใช้หน่วยเข้าถึงหลายสถานีงาน (Multistation Access Unit) เป็นสถานีกระจายสัญญาณเพื่อส่งไปยังสถานีงานต่างๆ หน่วยนี้มีการเชื่อมโยงสถานีงานด้วยสายเคเบิลแบบสายคู่ไขว้ (twisted-pair cable) ในโครงแบบรูปดาวมากถึง 255 สถานี แต่ผลการทำงานของข่ายงานกลับเป็นในลักษณะข่ายงานแบบวงแหวนที่กระจายออกจากจุดศูนย์กลาง

U

UNIX ยูนิกซ์

ระบบปฏิบัติการที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในคอมพิวเตอร์ทุกประเภท ตั้งแต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จนถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่สนับสนุนระบบหลายภารกิจ (multitasking) และเหมาะสมกับการใช้กับโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้ใช้ร่วมกันหลายคน ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่ยืดหยุ่นได้ และเหมาะสมเป็นอย่างมากกับความต้องการของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ระดับสูงอย่างไรก็ตาม ยูนิกซ์จะทำให้เป็นภาระหนักแก่ผู้ใช้ที่ไม่ค่อยได้ใช้โปรแกรมนี้และผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านเทคนิคมาก นัก เนื่องจากมีคำสั่งใช้งานมากกว่า 200 คำสั่งและคำสั่งวากยสัมพันธ์ที่ซ่อนเร้นอยู่จึงทำให้ค่อนข้างยากในการใช้งาน แต่ด้วยพัฒนาการของยูนิกซ์ เชลล์ (UNIX shells) เช่น เน็กซ์สเต็ป (NeXTStep) จึงจะทำให้ระบบปฏิบัติการมีบทบาทกว้างขวางขึ้นในวงการคอมพิวเตอร์

user-defined ระบุโดยผู้ใช้

สิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เลือกในการทำงานของตนเอง เช่น การเลือกตั้งค่าหน่วยวัดเป็นนิ้วหรือเซ็นติเมตร หรือการเลือกใช้แบบตัวอักษรในการพิมพ์ เป็นต้น


สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์

สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์
สายสื่อสาร คือ สายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสถานีกับไฟล์เซิร์ฟเวอร์และสถานีกับสถานีเพื่อให้มีการติดต่อสื่อสารร่วมกันได้ สายสื่อสารที่นิยมใช้ในระบบแลน ได้แก่

1.1 สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable)

1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)

1.3 สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber optic Cable)

3.1 สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair Cable) เป็นสายที่มีลวดทองแดงพันกันตามมาตรฐานเป็นคู่เพื่อช่วยลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นสายที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน มีลักษณะเช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ (แต่ไม่ใช่สายโทรศัพท์)

สายคู่บิดเกลียว แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

3.1.1 สายคู่บิดเกลียวแบบ UTP (Unshield Twisited Pair) เป็นสายลวดทองแดงที่มีฉนวนหุ้มเพื่อไม่ให้สัมผัสกันแต่ไม่มีสายดิน (ground shield) ที่ป้องกันสัญญาณรบกวน ภายในมีจำนวนสายรวมกันอยู่หลายเส้น เช่น ตามมาตรฐานของเอทีแอนด์ที (AT&T) จะมีสายไฟฟ้าอยู่ภายใน 8 เส้น พันเป็นเกลียว 4 คู่ ระบบสาย UTP มักต่อกับหัวต่อแบบ RJ 45 ซึ่งมีลักษณะคล้ายปลั๊กโทรศัพท์ทั่วไป สาย UTP มีไว้สำหรับเชื่อมโยงระหว่างจุด 2 จุด ใช้ในการต่อระบบแลนแบบดาว (star) ซึ่งมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายสัญญาณ เช่น ฮับ (hub) โดยมีระยะทางไม่ไกลนักเป็นสายสื่อสารที่ราคาถูกที่สุด ติดตั้งง่ายและรวดเร็วแต่คุณภาพต่ำที่สุดใช้ได้ในระยะทางจำกัดเพราะจะถูกรบกวนจากสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอกได้ง่าย มีอัตราความผิดพลาดในการส่งข้อมูลสูกกว่าสายสื่อสารแบบอื่น เหมาะที่จะใช้ภายในอาคาร

3.1.2 สายคู่บิดเกลียวแบบ STP (Shield Twisted Pair) เป็นสายสื่อสารที่เพิ่มสายดิน (ground shield) เพื่อป้องกันสัญญาณคลื่นรบกวนจากสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก คุณภาพแบบ STP จะดีกว่าแบบ UTP เพราะให้ความถูกต้องในการส่งข้อมูลได้ดีกว่า

3.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสายที่ทำจากลวดทองแดง เรียกว่าคอนดักเตอร์ (conductor) อาจมีเส้นเดียวหรือหลายเส้นก็ได้แล้วแต่จำนวนช่องสัญญาณ หุ้มด้วยลวดตาข่ายทำหน้าที่เป็นสายดินโดยมีฉนวนแยกคอนดักเตอร์และสายดินออกจากกัน ถ้าสายโคแอกเชียลมีขนาดคอนดักเตอร์ใหญ่ก็จะสามารถส่งสัญญาณได้ระยะไกลกว่าและราคาแพงกว่าสายที่มีขนาดคอนดักเตอร์เล็กกว่า ลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวี (แต่ไม่ใช่สายทีวี) คุณภาพในการส่งช้อมูลดีกว่าและมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่าสายคู่บิดเกลียวแต่มีราคาแพงกว่ามักจะใข้กับการเชื่อมโยงแบบบัส (bus) ซึ่งใช้สายเพียงเส้นเดียวเดินผ่านไปยังเครื่องทุกเครื่องบนเครือข่าย ปัจจุบันเป็นสายโคแอกเชียลนิยมใช้น้องลงเนื่องจากสายคู่บิดเกลียวได้รับการพัฒนาให้สามารถส่งข้อมูลได้เร็วขึ้นและราคาถูกกว่า

3.3 สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber optic Cable) หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ทำจากแก้วหรือซิลิคอนที่มีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็กเหมือนเส้นผมมีการสูญเสียสัญญาณแสงน้อยมาก สัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณแสงส่งไปในท่อใยแก้ว เป็นสายสื่อสารที่ให้ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลได้ดีที่สุดแต่มีราคาแพงที่สุด การติดตั้งและบำรุงรักษายาก เนื่องจากสายใยแก้วนำแสงทำด้วยแก้วซึ่งเป็นสารที่ไม่ยอมให้ไฟฟ้าผ่าน ดังนั้น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก เช่น คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ สายไฟแรงสูงจะไม่รบกวนสัญญาณที่ผ่านเส้นใยแสง สายชนิดนี้จึงทนทานต่อการรบกวนได้ดีกว่าสายประเภทอื่น สามารถส่งข้อมูลเป็นจำนวนมากด้วยอัตราความเร็วสูงและส่งสัญญาณไปได้ระยะทางไกล ๆ สายไฟเบอร์ออปติกมีลักษณะพิเศษ คือใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด จึงเหมาะที่จะใช้ในการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายหลัก หรือเชื่อมโยงระหว่างอาคารกับอาคาร สายไฟเบอร์ออปติกจึงนิยมใช้เป็นสายแกนหลักที่เรียกว่า backbone นอกจากนี้ลักษณะทางกาายภาพทำให้การดักขโมยข้อมูล (tap) ไม่ง่ายเหมือนกับสายลวดทองแดงจึงเหมาะที่จะใช้ในการส่งข่าวสารข้อมูลที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลสูง

เนื่องจากสายเคเบิลที่ใช้ในระบบแลนมักมีปัญหาในเรื่องการเดินสาย การติดตั้งและการดูแลรักษา จึงมีการพัฒนาการสื่อสารแบบไร้สาย (wireless) ในระบบแลน โดยใช้รังสีอินฟราเรดและคลื่นวิทยุเป็นสื่อกลางในการส่งสัญญาณข้อมูลทำให้ไม่ต้องใช้สายเคเบิลและผู้ใช้สามารถย้ายสถานที่ได้สะดวก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องเส้นทางและอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำ

อุปกรณ์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้องในระบบเครือข่าย LAN

1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น server หรือผู้ให้บริการ จะทำหน้าที่เก็บแฟ้มข้อมูล (File) แอปพลิเคชั่นโปรแกรม (application program) และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เพื่อที่จะให้บริการแก่ workstation หรือ เทอร์มินอล (terminal) ของผู้ใช้ ซึ่งอยู่ภายในบริเวณเครือข่าย LAN เดียวกัน

2. เครื่องเทอร์มินอล (Terminal) ของผู้ใช้ หรืออาจเรียกว่า สถานีงาน (workstation) ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่ว ๆ ไป (personal computer) เครื่องเทอร์มินอลสามารถเรียกใช้บริการจากเครื่องทำเป็น server ได้ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ข้อมูล หรือ โปรแกรมที่ลงไว้ที่เครื่องที่เป็น server

3. Network Interface Card (NIC) หรือ Network Adapter Cards (NAC) หรือ LAN Card นั่นเอง เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่อยู่ในระบบ LAN จะต้องมี LAN Card ติดตั้งอยู่ LAN Card ทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากเครื่องเทอร์มินอล หรือ จาก workstation เข้าสู่เครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครือข่ายเข้าสู่เครื่องเทอร์มินอล

4. คอนเนคเตอร์หรืออินเตอร์เฟช (Connector or Interface) เป็นกล่องหรือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเทอร์มินอลหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย เช่น Network Interfacd Unit (NIU) เป็นอินเตอร์เฟซสำหรับเชื่อมต่อเทอร์มินอลเข้ากับเครือข่าย หรือ คอนเนคเตอร์รูปตัว T ที่นิยมใช้ในเครือข่าย LAN ที่มีลักษณะการเชื่อมต่อแบบ BUS

5. ทรานซีฟเตอร์ (Trandceiver) หรือ Attachment Unit Interface (AUI) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการสื่อสารของเครื่องเทอร์มินอลหรือสเตชั่น เข้ากับเครือข่าย เช่นเดียวกับคอนเนคเตอร์และอินเตอร์เฟซ

6. คอนโทรลเลอร์ (Controller) เป็นอุปกรณ์ควบคุมเครือข่าย จะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมเส้นทางของการรับ-ส่ง ข้อมูล จัดระบบการทำงานของเครือข่าย รวมถึงการควบคุมการทำงานของเทอร์มินอล หรือ สเตชั่น

7. บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า InterWorking Unit (IWU) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือข่าย บริดจ์จะรับข้อมูลจากเครือข่ายต้นทาง แล้วทำการตรวจสอบตำแหน่งของเครือข่ายปลายทาง จากนั้นจะทำการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายปลายทาง

8. เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์พวก IWU เช่นเดียวกับบริดจ์ แต่มีความสามารถมากกว่า บริดจ์ นั่นคือ สามารถใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง LAN 2 เครือข่าย หรือมากกว่า นอกจากนี้เราเตอร์ยังทำหน้าที่ในการตัดสินใจเลือกเส้นทางการสื่อสารข้อมูลที่ดีที่สุดอีกด้วย

9. รีพีตเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณ และป้องกันการขาดหายไปของสัญญาณ ช่วยเสริมให้การรับส่งข้อมูลดีขึ้น เนื่องจาก การสื่อสารข้อมูลต้องใช้สัญญาณไฟฟ้า ในการรับส่งข้อมูลเมื่อสัญญาณไฟฟ้าวิ่งจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจะมีการสูญเสียพลังงานเกิดขึ้นทำให้สัญญาณอ่อน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีรีพีตเตอร์มาช่วยเสริมในการรับส่งข้อมูล โดยรีพีตเตอร์ทำหน้าที่สร้างสัญญาณไฟฟ้าขึ้นใหม่เหมือนสัญญาณเดิมที่ถูกส่ง

10. เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือมากกว่าที่อยู่ต่างเครือข่ายให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งอาจจะมีลักษณะของเครือข่ายเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

ลักษณะการต่อสายในระบบ LAN (Lan Topoolgy)

ลักษณะการต่อสายในระบบ LAN (Lan Topoolgy)

ลักษณะการต่อสาย LAN หรือที่เรียกกันว่า topology โดยทั่วไปมี 3 แบบใหญ่ คือ

1. แบบ STAR หรือเรียกว่าแบบดาว คือ การต่อโหนด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ที่ใช้เป็นศูนย์กลางซึ่งอาจจะเป็น ฮับ (hub) ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File server) หรือ เกตเวย์ (Gateway) ศูนย์กลางจะทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร การสื่อสารข้อมูลแบบ Star นี้ จะเป็นแบบ 2 ทิศทาง โดยจะอนุญาตให้มีเพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่ส่งข้อมูลเข้าเครือข่ายได้ เครื่องอื่น ๆ จะส่งข้อมูลเข้าเครือข่ายจึงทำไม่ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล

ข้อดี

  • สามารถทำการติดตั้งเครือข่ายและทำการดูแลรักษาได้ง่าย
  • สามารถทำการตรวจสอบโหนดที่เสียหายได้ และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้

ข้อเสีย

  • เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพง
  • ถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียจะทำให้การสื่อสารทั้งระบบเสียตามด้วย

2. แบบ BUS เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกตัวจะเชื่อมต่อเข้ากับสายสื่อสารหลักที่อยู่ตรงกลางที่เรียกว่า BUS การควบคุมสายสื่อสารในเครือข่ายแบบ BUS มี 2 แบบ คือ ควบคุมด้วยศูนย์กลาง ซึ่งจะมีเครื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารในเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ และอีกแบบหนึ่งคือ การควบคุมแบบกระจาย ทุก ๆ เครื่องในเครือข่ายมีสิทธิ์ในการที่จะควบคุมการสื่อสารในเครือข่าย

ข้อดี

  • สามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย

ข้อเสีย

  • ระบุจุดที่เสียหายในสาย BUS ได้ยาก และเครื่องที่อยู่ถัดจากจุดที่เสียหายก็ไม่สามารถสื่อสารข้อมูลได้

3. แบบ RING เป็นการเชื่อมต่อแบบรอยต่อกันเป็นวงผ่านทุกเครื่องในระบบจนครบ การส่งผ่านข้อมูลต่อกันเป็นวงกลมจากต้นทางไปจนถึงปลายทาง ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวกับวงแหวน แต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำเครื่องเพื่อทำหน้าที่เพิ่มเติมสัญญาณที่ใช้ในการสื่อสาร


ข้อดี

  • สามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ โหนดได้ในเวลาเดียวกัน
  • ไม่มีการชนกันของสัญญาณเพราะจะส่งสัญญาณจากโหนดสู่โหนดเป็นวงแหวน

ข้อเสีย

  • ถ้าโหนดใดโหนดหนึ่งเสียหายข้อมูลไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อ ๆ ไปได้ และทำให้ทั้งเครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสารได้
  • การติดตั้งเครือข่ายทำได้ยาก

ความรู้เรื่องระบบเครือข่าย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
คือ กลุ่มของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นำมาต่อเชื่อมกัน ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปใช้เพื่อแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น เครื่องพิมพ์ ไฟล็ข้อมูล เป็นต้น เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือ ใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การเชื่อมต่ออาจใช้สายเคเบิ้ล ระบบโทรศัพท์คลื่นวิทยุ ระบบดาวเทียม หรือลำแสงอินฟาเรด ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปมี 3 แบบ ดังนี้

1. Local Area Network (LAN) คือ เครือข่ายท้องถิ่นเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก เช่น ภายในห้อง สำนักงาน หรือในอาคาร

2. Metroploitan Area Network (MAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดเล็กทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN เช่น การเชื่อมต่อระบบระหว่างองค์กรในอำเภอหรือจังหวัด ข้อมูลสามารถถูกส่งผ่านระหว่างเครือข่ายได้ โดยการเชื่อมต่อผ่านระบบโทรศัพท์ สายโคแอกเชียลหรือระบบสื่อสารไร้สาย

3. Wide Area Network (WAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดทางภูมิศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นกว่าแบบ MAN เช่น การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายในระดับจังหวัดกับจังหวัด หรือระหว่างประเทศ มักเป็นการเชื่อมต่อที่ใช้สายสัญญาณที่มีความเร็วสูงเพราะข้อมูลทีมักจะส่งเป็นข้อมูลจากเครือข่ายย่อยหลาย ๆ ส่วนถูกส่งผ่านไปยังเครือข่ายอื่นหรืออาจเป็นศูนย์แม่ข่าย

วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน โดยมีคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการใช้โปรแกรมซอฟแวร์และข้อมูลร่วมกัน ซึ่งอยู่ บนคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง และเพื่อปรับปรุงข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ผ่านคอมพิวเตอร์ใดๆในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย
1. เพื่อปรับปรุงข้อมูลโดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ผ่านคอมพิวเตอร์ใดๆบนเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ต่างสถานที่กัน เช่น การจองที่นั่งบน เครื่องบิน โดย ผ่านทางคอมพิวเตอร์

2. เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการแบ่งการใช้ไฟล์ข้อมูล โปรแกรมและ เครื่องพิมพ์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บนคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งใน เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN )
Local Area Network (LAN) เป็นเครือข่ายเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เข้าด้วยกัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียน ในสำนักงาน หรือในอาคารเป็นต้น ตามปกติแล้วการกำหนดติดตั้งระบบเครือข่ายจะมีการออกแบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งที่มี ประสิทธิภาพสูงเป็น File Server เครื่องนี้ทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลซอร์ฟแวร์ที่ใช้ควบคุมระบบเครือข่ายนอกจากนี้ยังสามารถแบ่งปัน การใช้ซอร์ฟแวร์และข้อมูลให้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายนี้ซึ่งเรียกว่า สถานีงาน (Workstation) หรือ เทอร์มินอล (Terminal) ได้อีกด้วย workstations อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทีมีสมรรถนะและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลไม่สูงมาก ในระบบเครือข่ายส่วนใหญ่ใช้สายสัญญาณ (Cable) เชื่อมต่อกับ Network Interface Card (NIC) ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง

ข้อดีของระบบ LAN
1) เกิดการใช้ทรัพยากรหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ต่อพ่วงเครื่องเลเซอร์ ซีดีรอม และแฟกซ์ เป็นต้น

2) มีการแบ่งปันการใช้แอปพลิเคชั่น (software) เช่น การใช้แอปพลิเคชั่นเดียวกันได้พร้อม ๆ กันได้ เช่น ไมโครซอร์ฟเวิร์ด โปรแกรมการทำบัญชี แต่ทั้งนี้ความสามารถในการแก้ไขข้อมูลจะขึ้นอยู่กับ ระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชั่น และชนิดข้อมูล

3) มีการแบ่งปันการใช้ไฟล์ เช่น การใช้เอกสาร ฟอร์มเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ร่วมกัน สามารถทำการย้ายโอนไฟล์ เช่น การส่งต่อไฟล์ โดยไม่ใช้แผ่นดิสก์ ลดเวลาและความยุ่งยากในการถ่ายข้อมูลลงแผ่นดิสก์ เพื่อส่งต่อข้อมูล

4) การเข้าถึงข้อมูลและไฟล์เป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น การเข้าถึงข้อมูลลนไฟล์เซิร์ฟเวอร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดก็ได้เชื่อมต่อกันระบบเครือข่ายสามารถทำได้

5) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งข้อความและสามารถแนบไฟล์เอกสาร รูปภาพหรือ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นเสียง


รูปแบบของ LAN

Peer-to-Peer
ในระบบแบบ Peer-to-Peer นั้น ระบปฏิบัติการที่สนับสนุนระบเครือข่าย (network operating system ; NOS) อนุญาตให้ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถแบ่งปันการใช้ทรัพยากรและไฟล์ของเครื่องตนให้แก่กันและกันได้โดยไม่ต้องใช้ไฟล์เซิร์ฟเวอร์หรือการควบคุมจากศูนย์กลางเครื่องแต่ละเครื่องมีความเท่าเทียมกัน

ในการจัดสรรทรัพยากรซึ่งเหมาะสมกับระบบเครือข่ายขนาดเล็กถึงปานกลาง ตัวอย่างเช่น การใช้ Windows for Workgroups ในการใช้งาน

ข้อดีของระบบ Peer-to-Peer :
  • ลงทุนน้อย เพราะไม่ต้องใช้เครื่องที่มีสมรรถนะสูงซึ่งมีราคาแพงมาใช้เป็น server
  • ติดตั้งและใช้งานได้ง่ายเพราะตั้งค่าการทำงานของระบบได้ง่ายตัวอย่างเช่น การตั้งค่า Windows95/98 เพื่อใช้งาน

ข้อด้อยของระบบ Peer-to-Peer :
  • ไม่มีผู้ควบคุมและรับผิดชอบไฟล์และแอปพลิเคชั่นโดยตรง
  • ไม่มีการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูล

2. Client / Server

ระบบแบบ Client/Server นี้มีศูนย์กลางควบคุม File Server กลายเป็นหัวใจของระบบเพื่อจัดสรรการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากร และความปลอดภัย ทุกเครื่องสามารถใช้งานติดต่อกับ Server ได้โดยตรงการใช้ username และ password เพื่อ Login โดย User แต่ละคนมีสิทธิในการใช้ทรัพยากรและการเข้าถึงข้อมูลได้ไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิของผู้บริหารระบบ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating Syster : NOS) อนุญาติให้ User สามารถ Login พร้อม ๆ กันได้ ตัวอย่างของระบบปฏิบัติการเครือข่าย ได้แก่ Novell Netware, Windows NT Server และ UNIX

File Server เป็นส่วนสำคัญของระบบจึงจำเป็นต้องมีเครื่องที่มีความเร็วในการทำงานสูงที่เก็บข้อมูลที่มีความจุสูงช่องทางการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่มีความเร็วสูง แอปพลิเคชั่นและระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating Systen)

Workstations เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดต่อกับ Server เราเรียกว่า Workstation หรือ terminal ซึ่งโดยทั่วไปอาศัยเพียงช่องทางการเชื่อมต่อกับระบบ ซอร์ฟแวร์ระบบเครือข่าย และสายสัญญาณที่เหมาะสมก็เพียงพอแล้วในการทำงานและติดต่อกับ Server ดังนั้นเครื่องที่เป็น workstation อาจไม่จำเป็นต้องใช้ Floppy Disk หรือ Hard Drive เลยก็ได้ เพราะข้อมูลส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บไว้บน Server

ข้อดีของระบบแบบ Client / server :

  • มีความเป็นศูนย์กลาง ทรัพยากรและความปลอดภัยของข้อมูล ถูกควบคุมผ่าน Servrt
  • สามารถเพิ่มส่วนประกอบย่อย ๆ ของระบบได้ง่ายตามต้องการ เช่น การเพิ่ม User และอุปกรณ์ที่จะแบ่งปันให้ User
  • มีความยืดหยุ่นในการพัฒนาระบบและนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้งาน
  • ทุกส่วนประกอบสามารถทำงานร่วมกันได้ โดยการส่งต่อข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันได้
  • การเข้าถึง Server จากระยะไกลได้จาก Plat Form ที่หลากหลายเช่น การเข้าถึงข้อมูลบน Windows NT Server ได้จาก
  • Windows95/98 หรือจากสถานีงานที่เป็น UNIX ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าของ Server

ข้อด้อยของระบบแบบ Client / server :

  • ลงทุนสูงในการจัดหา Server
  • ต้องมีการบำรุงรักษาที่ดี โดยเฉพาะระบบที่ต้องการความน่าเชื่อถือสูง ๆ เมื่อ Server หยุดการทำงานหรือเสีย ทำให้เครื่องที่เป็นสถานีงานไม่สามารถ
  • ทำงานกับระบบได้ดังเดิม

DNS ของ ISP คุณคืออะไร

DNS ของ ISP คุณคืออะไร

ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อ ppp มีดังต่อไปนี้ หากคุณไม่พบสคริปต์ทั้งสองข้างล่างนี้ คุณจำเป็นจะต้องเขียนขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็จะมีตัวอย่างไว้ให้แล้ว และอย่าลืมเปลี่ยน mode ของไฟล์ให้เป็น execute mode ด้วยคำสั่ง chmod +x [ชื่อสคริปต์]

เนื่องจากการใช้งานหลายๆอย่างต้องอาศัย root priveledge ดังนั้นก่อนการ แก้ไขหรือใช้งาน pppd ขอให้คุณเข้าทำการล็อกอินเป็น super user (root) เสียก่อน

/usr/sbin/pppd ซอฟท์แวร์สำหรับการเชื่อมต่อแบบ ppp

/usr/sbin/ppp-on สคริปต์สำหรับเริ่มการเชื่อมต่อ (จะไปเรียก pppd)

/usr/sbin/ppp-off สคริปต์สำหรับตัดการเชื่อมต่อ

/etc/ppp/options เป็นไฟล์ option ที่ pppd จะทำการอ่านเมื่อเริ่มต้นทำงาน


ตัวอย่างของ /etc/ppp/options

# /etc/ppp/options (NO PAP/CHAP)

#

# Prevent pppd from forking into the background

-detach

# If you are using a STATIC IP number, edit the 0.0.0.0 part of the

# following line to your static IP number.

0.0.0.0:

#

# use the modem control lines

modem

# use uucp style locks to ensure exclusive access to the serial device

lock

# use hardware flow control

crtscts

# create a default route for this connection in the routing table

defaultroute

# do NOT set up any "escaped" control sequences

asyncmap 0

# use a maximum transmission packet size of 552 bytes

mtu 552

# use a maximum receive packet size of 552 bytes

mru 552

##-------END OF SAMPLE /etc/ppp/options (no PAP/CHAP)


การเรียกใช้ ppp โดยการลงมือทำเอง (manual)

ให้ทำการหมุนโทรศัพท์เข้าไปที่ ISP หรือ Host ที่อนุญาต ให้เชื่อมต่อไปยัง อินเทอร์เนต ด้วยการใช้ minicom ก่อนโดยทำการเรียก minicom ที่คอมมานด์ไลน์ วิธีการใช้ minicom จะคล้ายกับการใช้ telix ให้กด Ctrl-A-Z เพื่อแสดงคำสั่ง ของ minicom ทั้งหมดขึ้นมา

เมื่อเชื่อมต่อได้แล้วให้กด Ctrl-A-Q เพื่อออกจาก minicom ซึ่ง minicom ก็จะถามว่าต้องการออกแบบไม่ reset modem ใช่หรือไม่ ให้ตอบ "OK" ไป เพื่อยืนยันว่าไม่ต้องการ reset modem เนื่องจากเราจะให้ ppp ใช้การเชื่อมต่อนี้

จากนั้นจึงสั่ง /usr/sbin/pppd -d -detach /dev/ttyS0 (ttyS0 สำหรับ com1 แต่ถ้าเป็น com2 จะเป็น /dev/ttyS1) pppd จะทำการเชื่อมต่อแบบ ppp ให้

ให้ใช้ ifconfig ตรวจดู การเชื่อมต่อแบบ ppp --> ppp0 หากสามารถทำการติดต่อ ได้สำเร็จจะเห็นผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

ppp0 Link encap:Point-Point Protocol

inet addr:10.144.153.104 P-t-P:10.144.153.51 Mask:255.255.255.0

UP POINTOPOINT RUNNING MTU:552 Metric:1

RX packets:0 errors:0 dropped:0 overruns:0

TX packets:0 errors:0 dropped:0 overruns:0

ลองใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เนตดู เช่น บราวเซอร์, ftp, telnet, ping เป็นต้น หากต้องการจะตัดการติดต่อให้ใช้คำสั่ง ps เพื่อแสดง PID (Process id) แล้ว kill PID ของโปรแกรม pppd ทิ้ง

# ps -ax grep pppd

1228 p0 S 0:00 grep pppd

1139 p1 S 0:00 pppd

# kill -9 1139

จะเห็นว่าหมายเลข PID ของโปรแกรม pppd ก็คือ 1139 (ไม่ใช่ 1228 เพราะเกิดจากคำสั่ง grep) ให้ทำการ kill โปรแกรม pppd ตามตัวอย่าง

การเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติ (Automatic)

จะต้องทำการแก้ไขสคริปต์ /etc/ppp/ppp-on ดังต่อไปนี้

#!/bin/sh

#

# Script to initiate a PPP connection. This is the first part of the

# pair of scripts. This is not a secure pair of scripts as the codes

# are visible with the 'ps' command. However, it is simple.
#
# These are the parameters. Change as needed.

TELEPHONE=0,,1601 # The telephone number for the connection

ACCOUNT=username # The account name for logon (as in 'username')

PASSWORD=passwd # The password for this account (and 'passwd')

LOCAL_IP=0.0.0.0 # Local IP address if known. Dynamic = 0.0.0.0

REMOTE_IP=0.0.0.0 # Remote IP address if desired. Normally 0.0.0.0

NETMASK=255.255.255.0 # The proper netmask if needed

#

# Export them so that they will be available to 'ppp-on-dialer'

export TELEPHONE ACCOUNT PASSWORD

#

# This is the location of the script which dials the phone and logs

# in. Please use the absolute file name as the $PATH variable is not

# used on the connect option. (To do so on a 'root' account would be

# a security hole so don't ask.)

#

DIALER_SCRIPT=/etc/ppp/ppp-on-dialer

#

# Initiate the connection

#

#

/bin/setserial /dev/cua1 spd_vhi

exec /usr/sbin/pppd debug /dev/ttyS1 115200 \

$LOCAL_IP:$REMOTE_IP \

connect $DIALER_SCRIPT &

echo $! > /var/run/ppp-on.pid

ในการใช้งานสคริปต์ข้างต้นคุณจะต้องทำการแก้ไขข้อมูลต่อไปนี้เสียก่อน
· จะต้องแก้หมายเลขโทรศัพท์
· จะต้องแก้ชื่อผู้ใช้ที่จะขอล็อกอินเข้าไปใช้งานที่ ISP HOST
· จะต้องแก้รหัสผ่านที่จะใช้ล็อกอิน
ถ้าเป็น static ให้ใส่หมายเลข IP ที่ได้รับมาจาก ISP ที่ LOCAL IP ADDRESS แต่ถ้าเป็น dynamic ให้ใส่ 0.0.0.0:ที่ LOCAL IP ADDRESS

สำหรับสคริปต์ที่ทำการติดต่อกับ ISP HOST เพื่อส่งชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านนั้นจะอยู่ ใน /etc/ppp/ppp-on-dialer

#!/bin/sh

#

# This is part 2 of the ppp-on script. It will perform the connection

# protocol for the desired connection.

#

/usr/sbin/chat -v \

'ABORT' 'BUSY' \

'ABORT' 'ERROR' \

'ABORT' 'NO CARRIER' \

'ABORT' 'NO DIALTONE' \

'ABORT' 'Invalid Login' \

'ABORT' 'Login incorrect' \

'' 'ATZ' \

'OK' ATDT$TELEPHONE \

'CONNECT' '' \

'ogin:--ogin:' $ACCOUNT \

'ord:' $PASSWORD \

'>' 'ppp'

สคริปต์ ppp-on-dialer จะทำการติดต่อส่งชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และเรียกโปรแกรม ppp ที่ฝั่งของ ISP Host แบบอัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องทำการพิมพ์เหมือนตอนต่อแบบ manual เลย

ให้แก้สคริปต์ที่สำหรับดักหรือรอรับ ข้อมูลที่ ISP HOST ส่งมาให้ สำหรับในตัวอย่างนี้ เมื่อโมเด็มสามารถติดต่อกับฝั่ง ISP ได้แล้ว ส่วน terminal ของ ISP จะแสดงข้อความ ดังต่อไปนี้

Login: username <--- Login section

Password: passwd <--- Password section

ISP> ppp <--- System prompt

หาก HOST หรือ terminal ของ ISP ของคุณมีรูปแบบที่แตกต่างออกไปก็ให้แก้ไข สคริปต์ที่ดักรอตามลำดับข้างต้น เช่น ส่วนใส่ชื่อทะเบียนผู้ใช้ อาจแสดงเป็น
Username :

ก็จะต้องแก้ส่วนล็อกอินพร้อมพต์เป็น

'ername:--ername:' $ACCOUNT \

ส่วนที่ต้องพิจารณาที่จะทำการแก้ไขอื่นๆมีดังต่อไปนี้
· ล็อกอินพร้อมพต์( 'ogin:--ogin:') --> ใส่ชื่อทะเบียนผู้ใช้
· พาสเวอร์ดพร้อมพต์ ('ord:') --> ใส่รหัสผ่าน
· พร้อมพต์ของระบบ ('>') --> เรียกโปรแกรม ppp ที่ฝั่งเซอร์ฟเวอร์ทำงาน (ppp)

การตัดการเชื่อมต่อแบบ automatic จะต้องใช้สคริปต์ ppp-off สำหรับตัวอย่างสคริปต์ ppp-off มีดังต่อไปนี้

#!/bin/sh

PATH=/sbin:/usr/sbin:/bin:/usr/bin

if [ -f /var/run/ppp-on.pid ] ; then

daemonpid=`cat /var/run/ppp-on.pid`

if [ -n "$daemonpid" ] ; then

kill $daemonpid > /dev/null 2>&1

fi

rm /var/run/ppp-on.pid

fi

pppd จะทำการบันทึก log file ไว้ที่ /var/log/messages ให้ลองตรวจสอบ ข้อมูลจากที่ไฟล์นี้โดยใช้คำสั่ง
# tail -f /var/log/messages

จากตัวอย่างให้สังเกตุการดักรอส่วนตรวจสอบชื่อทะเบียนผู้ใช้, รหัสผ่าน และ พร้อมพต์ของระบบ

Jul 10 16:08:04 daffy chat[1396]: Login: -- got it

Jul 10 16:08:04 daffy chat[1396]: send (username^M)

Jul 10 16:08:04 daffy chat[1396]: expect (ord:)

Jul 10 16:08:04 daffy chat[1396]: username^M

Jul 10 16:08:04 daffy chat[1396]: Password: -- got it

Jul 10 16:08:04 daffy chat[1396]: send (passwd^M)

Jul 10 16:08:05 daffy chat[1396]: expect (>)

Jul 10 16:08:05 daffy chat[1396]: ^M

Jul 10 16:08:05 daffy chat[1396]: PYT_ITS> -- got it

Jul 10 16:08:05 daffy chat[1396]: send (ppp^M)

Jul 10 16:08:05 daffy pppd[1390]: Serial connection established.

Jul 10 16:08:06 daffy pppd[1390]: Using interface ppp0

Jul 10 16:08:06 daffy pppd[1390]: Connect: ppp0 <--> /dev/ttyS1

Jul 10 16:08:07 daffy pppd[1390]: local IP address 203.151.5.109

Jul 10 16:08:07 daffy pppd[1390]: remote IP address 203.151.5.2

Jul 10 16:08:33 daffy kernel: Appletalk 0.17 for Linux NET3.035

การใช้งาน pico

หากคุณมีความรู้สึกว่า vi มีความยุ่งยากในการใช้งาน และต้องการที่จะใช้เอดิเตอร์ที่มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายกว่า pico น่าจะเป็นเอดิเตอร์ที่น่าสนใจสำหรับคุณได้ หากคุณเคยใช้ pine ในการส่งอีเมลล์ของคุณ คุณจะรู้สึกว่าการเขียนอีเมลล์ใน pine จะมีลักษณะเดียวกันกับการใช้ pico

การเรียกใช้งาน pico สามารถทำได้ดังนี้

$ pico [ชื่อไฟล์]

เมื่อเรียกใช้ pico จะมีลักษณะเป็น full screen editor และมีการใช้งานที่ค่อนข้างง่าย เราสามารถใช้ปุ่มลูกศร ปุ่ม PgUp, PgDn ในการเลื่อนบรรทัดขึ้นลงได้ และ pico จะมีการแสดงปุ่มพิเศษที่ต้องใช้บ่อยๆทางด้านล่างของจอภาพ เช่นปุ่มบันทึกข้อมูลลงไฟล์ ปุ่มแสดงความช่วยเหลือ หรือ ปุ่มจบโปรแกรมโดยปกติปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษที่ใช้ใน pico จะมีวิธีการใช้งานในลักษณะของการกดปุ่มควบคู่กับปุ่ม Control เช่นปุ่มแสดงความช่วยเหลือ จะต้องกดปุ่ม Ctrl-G เมื่อลองกดปุ่มนี้แล้วก็จะปรากฎหน้าต่างแสดงความ

ช่วยเหลือขึ้นมา การจะเลื่อนให้ pico แสดงข้อความช่วยเหลือหน้าถัดไปจะต้องกดปุ่ม Ctrl-V ถ้าจะดูหน้าย้อนกลับจะต้องกดปุ่ม Ctrl-Y และถ้าจะออกจากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือก็ให้กดปุ่ม Ctrl-X คุณสามารถอ่านคำอธิบายความหมายของปุ่มพิเศษส่วนใหญ่ได้จากหน้าจอแสดงความช่วยเหลือนี้

ปุ่มฟังก์ชั่นพิเศษอื่นๆที่น่าสนใจใน pico

Ctrl-X ออกจากโปรแกรม pico (ถ้ามีการแก้ไขจะถามว่าบันทึกไฟล์หรือไม่)

Ctrl-O บันทึกไฟล์

Ctrl-J เชื่อมบรรทัดอื่นให้เป็นบรรทัดเดียวกัน

Ctrl-R อ่านไฟล์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อความที่กำลังแก้ไข

Ctrl-W ค้นหาคำที่ต้องการ

Ctrl-^ ระบายแถบสีเลือกข้อความที่ต้องการ

Ctrl-K ตัดข้อความที่เลือกไว้ นำไปเก็บในบัฟเฟอร์

Ctrl-U นำข้อความที่อยู่ในบัฟเฟอร์ออกมาใส่กลับไปในข้อความ

Ctrl-C บอกตำแหน่งปัจจุบันของเคอร์เซอร์

Ctrl-T เรียกตัวตรวจสอบการสะกดคำ

การเชื่อมต่อแบบ PPP

การเซ็ตอัพให้ลีนุกซ์เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เนตแบบ PPP

ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายของอินเทอร์เนตนั้น ทาง ISP จะทำการกำหนด IP Numbers หรือหมายเลขประจำตัวของ IP ให้กับเครื่องที่ขอทำการเชื่อมต่อนั้น ในกรณี ที่เป็นการขอเชื่อมต่อแบบ real PPP ซึ่งจะแตกต่างจาก slirp ที่เป็นลักษณะของการ จำลอง slip เท่านั้น นั่นหมายความว่าหากทำการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เนตแล้ว ผู้ใช้จากที่อื่นๆในอินเทอร์เนตจะสามารถเข้าใช้บริการเครื่องของคุณได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้คนอื่นๆในอินเทอร์เนตอาจจะทำการบราวซ์ดูเอกสาร HTML ของคุณได้ในกรณี ที่เครื่องของคุณสามารถให้บริการแบบ HTML server ได้

การกำหนดหมายเลข IP ให้กับคอมพิวเตอร์นั้นจะแบ่งออกเป็นสองแบบคือ static ip กับ dynamic ip สำหรับ static ip นั้นหมายถึงเลข IP ที่ได้จาก ISP จะเป็นเลข IP เลขเดิมตลอด ในขณะที่ dynamic ip จะมีการเปลี่ยนค่าเลข IP ที่กำหนดให้กับเครื่องที่ ติดต่อเข้าไปหาทุกครั้ง นั่นคือในการเชื่อมต่อแบบ dynamic ip นั้นจะได้ตัวเลขที่ไม่ เหมือนกันทุกครั้ง โดยทั่วไปแล้ว ISP ส่วนใหญ่จะกำหนดการเชื่อมต่อแบบ dynamic ip ให้กับลูกค้าทั่วๆไป (เท่าที่ทดลองติดต่อ real ppp กับ อินเทอร์เนตไทยแลนด์และ สามารถไซเบอร์เนตจะเป็นลักษณะของ dynamic)

โดยปกติแล้วเราสามารถใช้โปรแกรม dip เพื่อเข้าขอทำการเชื่อมต่อกับทาง ISP ใน แบบ slip แต่สำหรับการเชื่อมต่อกับ ISP โดยวิธีแบบ ppp แล้ว มักจะนิยมใช้โปรแกรม ที่เกี่ยวข้องกับ ppp บนลีนุกซ์ซึ่งก็คือ chat และ pppd

สำหรับการเชื่อมต่อแบบ ppp นั้นเราสามารถกำหนดให้เครื่องลีนุกซ์รับการติดต่อเข้ามา เป็นแบบ ppp ซึ่งจะเรียกว่า ppp server หรือทำการติดต่อไปหายัง ISP เพื่อขอรับ บริการ ppp ซึ่งจะเรียกว่า ppp client ก็ได้ หรือแม้แต่จะทำการกำหนดให้เครื่อง ลีนุกซ์ทำงานพร้อมกันทั้งสองแบบก็ย่อมได้ สำหรับเอกสารฉบับนี้จะอธิบายเฉพาะวิธีการ กำหนดให้ลีนุกซ์ทำหน้าที่แบบ ppp client

ในการจะใช้งาน ppp คุณจะต้องทำการคอมไพล์เคอร์เนลของคุณให้สามารถใช้งาน ppp ได้เสียก่อน ให้คุณเลือก option ที่เกี่ยวข้องกับ protocol ppp ที่เกี่ยวข้อง กับการ config kernel แล้วทำการคอมไพล์ใหม่ อย่างไรก็ดีเคอร์เนลที่คุณได้รับ มาจากดิสตริบิวเตอร์ส่วนใหญ่ก็ติดตั้งเคอร์เนลที่ใช้งาน ppp ได้ มาให้อยู่แล้ว

สิ่งที่คุณจะต้องทราบก่อนการปรับแต่งให้เครื่องลีนุกซ์ของคุณใช้ ppp
· หมายเลขโทรศัพท์ของ ISP
· ISP ให้การเชื่อมต่อแบบ static ip หรือ dynamic ip
· ใช้ PAP/CHAP หรือไม่ สำหรับ PAP/CHAP จะเป็นการตรวจสอบการมีสิทธิ์เข้า ใช้งาน HOST ของ ISP แต่จะมีการตรวจสอบว่าชื่อเครื่อง (machine name) ที่มี สิทธิ์ได้ใช้งานแทนที่จะเป็น ชื่อของผู้ใช้งาน (user name) แต่โดยทั่วไปแล้ว ISP จะเปิดให้ใช้การติดต่อแบบปกติคือตรวจสอบชื่อผู้ใช้งาน (ไม่ได้ใช้ PAP/CHAP)

สายสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล

สายสัญญาณที่ใช้ในการส่งข้อมูล
สายคู่ตีเกลียว (twisted pair) สายคู่ตีเกลียวเป็น สายที่มีฉนวน 2 เส้นนำมาทำการตีเกลียวอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะทางของสาย ปกติจะใช้กันมากในระบบโทรศัพท์ สายที่ลากจากชุมสายมายังบ้านจะเป็นสายคู่ตีเกลียว สายแบบนี้สามารถนำสัญญาณได้หลายกิโลเมตร โดยไม่ต้องมีการขยายสัญญาณ แต่ถ้ายาวกว่านี้มากๆจำเป็นจะต้องมีการขยายสัญญาณ สายคู่แบบมีเกลียวสามารถเดินไปด้วยกันหลายๆคู่เป็นมัดๆได้แล้วหุ้มด้วยฉนวนภายนอกอีกชั้นหนึ่ง การตีเกลียวจะช่วยลดสัญญาณรบกวนระหว่างคู่ที่เกิดขึ้นสายคู่แบบตีเกลียวสามารถใช้ได้กับทั้งระบบอนาล็อก และดิจิตอล ขึ้นอยู่กับขนาดและความยาว ความหนาของสาย ขนาดความเร็วในระดับเมกกะบิทต่อวินาทีก็สามารถทำได้แต่เป็นในระยะทางสั้นๆเท่านั้น เนื่องจากมีราคาถูกและประสิทธิภาพพอใช้จึงทำให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมาก สายสัญญาณแบบนี้รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า 10base-T

สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable) สายโคแอกเซียล หรือเรียกสั้นๆว่าสายโคแอก แบ่งออกเป็น 2 ชนิดตามที่มีการใช้กันอย่าง แพร่หลายคือสายแบบหนา (Thick Ethernet) และสายแบบบาง (Thin Ethernet) สายโคแอกจะประกอบด้วยลวดทองแดงอยู่ตรงกลางหุ้มด้วยฉนวนพลาสติก 1 ชิ้น แล้วจึงหุ้ม ด้วยทองแดงที่ถักเป็นผืน แล้วหุ้มภายนอกอีกชั้นหนึ่งด้วยฉนวนโครงสร้างของสายโคแอก สามารถทำให้ส่งข้อมูลมีความเร็วได้ถึง 10 Mbps ระยะทางสูงสุดคือ 200 และ 500 เมตรและมักจะเรียกกันอีกชื่อว่า 10base-2 และ 10base-5

วิธีการต่อสายโคแอกสามารถทำได้ 2 แบบคือใช้ทีจังชั่น (T-juction) และแวมไพร์แทป (vampire tap) วิธีทีจังชั่นคือตัดสายออกใส่คอนเนคเตอร์ชนิด BNC ที่ปลายสายแล้วนำมา สวมกับทีจังชั่นนำสัญญาณไปใช้ทางด้านที่สามวิธีนี้มักจะใช้กับ Thin Ethernet แต่ถ้าใช้วิธีแวมไพร์แทป จะต้องไม่ตัดสายเพียงแต่เจาะรูตรงกลางและใส่คอนเนคเตอร์แบบพิเศษ ที่เรียกว่าแวมไพร์แทปเข้าไป ซึ่งก็จะทำหน้าที่คล้ายกับทีจังชั่น เพียงแต่ไม่ต้องตัดสายออกเป็นสองเส้น วิธีนี้มักจะใช้กับสายแบบ Thick Ethernet

นอกจากสายสัญญาณทั้งสองแบบนี้แล้ว ยังมีสายสัญญาณประเภทอื่นอีก เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber obtics) เป็นต้น โดยปกติแล้วในระบบ LAN ทั่วไปใช้สายสัญญาณสองแบบข้างต้นดังกล่าวก็ถือว่าเพียงพอแล้ว


ถ้าหากใช้สายแบบสายคู่ตีเกลียว คุณอาจจะซื้อสายที่มีการเข้าหัวต่อให้เรียบร้อยแล้วหรืออาจจะทำการเข้าหัวต่อเองก็ได้ ซึ่งจะต้องมีเครื่องสำหรับการเข้าหัวต่อโดยเฉพาะ โดยปกติสายแบบนี้มักจะต้องใช้คู่กับฮัป (HUP) แต่ถ้าคุณใช้สายแบบสายโคแอก นอกจาก คุณจะต้องทำการต่อแบบทีจังชั่นแล้วคุณยังจะต้องหา ตัวกลืนสัญญาณ (Terminator) มาปิดระหว่างหัวท้ายของสายสัญญาณเส้นนั้นด้วย เพื่อไม่ให้เกิดการสะท้อนของสัญญาณขึ้น หากคุณใช้สายสัญญาณแบบนี้คุณอาจจะใช้ฮัปหรือไม่ก็ได้

การเชื่อมต่อลีนุกซ์เข้ากับโฮสต์ของ ISP โดยผ่านสายโทรศัพท์
protocol แบบ serial line มีอยู่สองแบบคือ SLIP และ PPP ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถทำการติดต่ออินเทอร์เนต ผ่านโมเด็มและสายโทรศัพท์ได้เมื่อคุณจะทำการใช้ SLIP หรือ PPP คุณจะต้องทำการเซตอัพข้อมูลบางอย่างซึ่งจำเป็นจะต้องใช้เพื่อการติดต่อกับอินเทอร์เนตเสียก่อน อย่างแรกคือคุณจะต้องการหมายเลขของ DNS เพื่อที่จะใช้แปลงค่าจากชื่อที่เป็นตัวอักษรให้เป็นตัวเลข ให้ใส่ค่าหมายเลขของ DNS ไว้ที่ไฟล์ /etc/resolv.conf ตัวอย่าง

nameserver 202.6.100.1
เมื่อพิมพ์บรรทัดนี้เข้าไปในไฟล์ resolv.conf ลีนุกซ์จะรับรู้ DNS จาก KSC internet คุณสามารถใส่หมายเลขของ DNS เข้าไปมากกว่าหนึ่งหมายเลขได้

การใช้งาน SLIP ที่ง่ายที่สุดคือการใช้งานผ่านทางโปรแกรม dip โปรแกรม dip นี้ เราสามารถสั่งผ่านทาง command line ได้ (สำหรับลีนุกซ์บาง distribution อาจจะต้องใช้ permission ของ root เสียก่อน)


คุณสามารถจะใช้ dip ทำการหมุนโมเด็มเพื่อทำการเชื่อมไปที่ ISP ได้ และเมื่อติดต่อได้แล้ว คุณจะสามารถทำการ login เข้าโฮสต์ของ ISP ได้ตามปกติ ให้ใส่ username และรหัสผ่าน จากนั้นให้เรียกโปรแกรม slirp หรือ slip เพื่อเริ่มทำการเชื่อมต่อ

slirp -b 115200

เมื่อเรียกเสร็จแล้ว โปรแกรม slip จะทำการแจ้งค่า local IP address ให้ คุณจะต้องทำการ เก็บค่าของ local IP address นี้ไว้ และค่า IP ของโฮสต์ด้วยจากนั้นให้ทำการการกลับสู่ โปรแกรม dip โดยกดปุ่ม Ctrl-] (หรือปุ่มอื่นๆที่ทาง ISP ได้แจ้งมา) เมื่อกลับสู่โปรแกรม dip แล้วคุณจะต้องแจ้งค่า IP ทั้งสองค่าเพื่อเริ่มทำการเชื่อมต่อ

get $rmtip 202.44.144.1 แจ้งค่า IP ของโฮสต์

get $locip 10.0.2.15 แจ้งค่า local IP ที่โฮสต์กำหนดมาให้

นอกจากสองค่านี้แล้วคุณจะต้องแจ้งค่าของ netmask และค่าของ mtu จากนั้นก็ใช้ คำสั่ง exit ออกจากโปรแกรม dip ได้ ให้ทำการตรวจสอบว่าการเชื่อมต่อโดยใช้ SLIP ทำได้อย่างถูกต้อง โดยใช้คำสั่ง netstat -rn จะเห็น device ของ sl0 และเกตเวย์เป็นหมายเลขของโฮสต์ของ ISP คุณสามารถหาคำสั่งของ dip ที่ต้องการได้โดยการใช้คำสั่ง

man dip

คุณสามารถจะทำการใช้สคริปต์ ช่วยให้การใช้งานโปรแกรม DIP ของคุณเป็นไปได้อย่างสะดวกขึ้น ให้ดาวน์โหลดสคริปต์ตัวอย่างจาก ที่นี่ (กดปุ่ม Shift พร้อมกับคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย) เมื่อคุณคลี่ไฟล์ออกมาแล้วให้ทำการเปลี่ยนค่าของ หมายเลขโทรศัพท์, DNS (Domain Name Server), rmtip (Remote-IP), และค่าของ locip (Local-IP) ในสคริปต์ (ค่า DNS ต้องไปเปลี่ยนที่ /etc/resolv.conf) ตามที่ได้รับแจ้งจากทางคู่มือหรือเจ้าหน้าที่ของ ISP แล้วทำการใช้งานสคริปต์โดยสั่ง

/sbin/dip <ชื่อของสคริปต์>

ตัวอย่าง

/sbin/dip ksc.dip

หากต้องการยกเลิกการติดต่อ จะต้องทำการ kill โปรแกรม DIP โดยใช้คำสั่ง

/sbin/dip -k

เมื่อคุณทำการเชื่อมต่อลีนุกซ์เข้ากับ โฮสต์ของ ISP แล้ว คุณสามารถจะใช้งานอินเทอร์เนตผ่านทางเครื่องของคุณได้ ไม่ว่าจะใช้ tin, lynx, telnet หรือ ftp และถ้าคุณมีระบบ X window อยู่ คุณอาจจะใช้ Netscape หรือ Arena ทำการบราวซ์ โฮมเพจดูก็ได้

หากลีนุกซ์ของคุณเชื่อมต่อกับ เครื่องอื่นๆในระบบ LAN อยู่ คุณสามารถทำให้เครื่องอื่นๆในระบบ สามารถใช้ลีนุกซ์ตัวนี้ในฐานะของเกตเวย์ เพื่อทำการติดต่ออินเทอร์เนตได้ด้วย แต่คุณจะต้องเซตอัพเคอร์เนลของคุณให้สามารถทำการใช้ IP FORWARDING ได ้เสียก่อน

หากเครื่องอื่นๆในเครือข่ายของคุณเป็น WINDOWS ให้เซตอัพค่า DNS ตามค่าของ ISP และค่า GATEWAY เป็นหมายเลขของลีนุกซ์ (ในที่นี้ตามรูปจะเป็นหมายเลข 128.100.10.254) เครื่องอื่นๆในเครือข่ายคุณจะใช้งานอินเทอร์เนตได้



การคอมไพล์เคอร์เนล ให้สนับสนุนเรื่องของเนตเวอร์ก

ต้องทำการเซตอัพเคอร์เนลของคุณ ให้ทำการสนับสนุนบอร์ดที่ต้องการรวมทั้งประเภทเนตเวอร์กชนิดต่างๆด้วย โดยคุณจะต้องทำการคอมไพล์เคอร์เนลใหม่ ่สำหรับการทำการเซตอัพเคอร์เนลในเวอร์ชั่นตั้งแต่ 2.0 ขึ้นไป จะมีรูปแบบที่ง่ายขึ้นโดยมีเมนูมาให้เลือก การเซตอัพที่ต้องการเกี่ยวกับเรื่องของเนตเวอร์ก คุณจะต้องทำการเซตอัพสองหัวข้อ คือเรื่องของการ์ดที่สนับสนุน และเรื่องของชนิดของเนตเวอร์กที่ทำการสนับสนุน ซึ่งถ้าหากเลือก TCP/IP จะมีหัวข้อย่อย เช่นเรื่องของIP Masquerate, IP forwarding เป็นต้น (หากจะเซตอัพให้ลีนุกซ์เป็นเกตเวย์ จะต้องเลือกหัวข้อ IP forwarding)
ให้เข้าไปในไดเรกทอรี /usr/src/linux แล้วเรียก make xconfig (สำหรับ Linux version ที่ต่ำกว่า 2.0 ให้เรียก make config แล้วเลือกตอบตามหัวข้อต่างๆ)


รูปแสดงการเลือกเซตอัพส่วนของเนตเวอร์ก


รูปแสดงการเลือกเซตอัพส่วนของฮาร์ดแวร์

ในกรณีนี้หากยังไม่เข้าใจเรื่องของการทำเคอร์เนลแบบโมดูล [m] ให้ทำการเลือกรวมส่วนเหล่านั้นเข้าไปในเคอร์เนลเลย [y] จะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องของเคอร์เนลโดยละเอียดในเอกสารอื่นอีกครั้ง หลังจากทำการเลือกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ ทำการ save และออกจากโปรแกรม และทำการสั่ง
make dep; make clean

เพื่อทำการตรวจสอบไฟล์ที่จะให้คอมไพล์เคอร์เนลต่างๆ รอสักพักเมื่อระบบจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการสั่งเริ่มต้นคอมไพล์เคอร์เนล
make zImage

ขั้นตอนนี้จะเริ่มทำการคอมไพล์เคอร์เนลใหม่ทั้งหมดซึ่งอาจจะต้องรอนานสักนิด ช่วงนี้ คุณอาจจะลุกไปชงกาแฟ ทานสักพักก็ได้ เมื่อคอมไพล์เคอร์เนลเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรม make จะบอกว่า ตัวของ zImage จะอยู่ในไดเรกทอรี /usr/src/linux/arch/i386/boot ให้นำเอา zImage จากไดเรกทอรีนี้ไปใส่ไว้ใน /boot (เวอร์ชั่นเก่าจะใส่ไว้ที่ root / ) จากนั้นก็อาจจะเปลี่ยนชื่อเป็น vmlinuz หรือตามชื่อที่อยู่ใน /etc/lilo.conf (อย่าลืมเก็บเคอร์เนลตัวเก่าของคุณไว้ด้วย) แล้วใช้คำสั่ง /sbin/lilo เพื่อให้บูตโหลดเดอร์อ่านคอนฟิกใหม่ของเรา เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนทุกอย่างแล้ว ให้บูตเครื่องใหม่พร้อมทั้งตรวจสอบดูว่าลีนุกซ์รับรู้เนตเวอร์กการ์ดใหม่ของเรา รวมทั้งชนิดของเนตเวอร์กที่ต้องการ ทดลองใช้คำสั่ง

netstat -rn

เครื่องจะแสดงผลเกี่ยวกับค่าของเนตเวอร์กออกมา ให้สังเกตส่วนคอลัมน์ Iface จะเห็นว่า มีดีไวซ์ eth0 แสดงว่าลีนุกซ์รับรู้เนตเวอร์กการ์ดแล้ว
Destination Gateway Genmask Flags MSS Window irtt Iface

129.103.0.0 0.0.0.0 255.255.0.0 U 1500 0 0 eth0

127.0.0.0 0.0.0.0 255.0.0.0 U 3584 0 0 lo

การพัฒนาเนตเวอร์กบนลีนุกซ์ และ การติดตั้ง เนตเวอร์กฮาร์ดแวร์

เนื่องจากลีนุกซ์เป็นโอเอสที่เกิดมาจากเนตเวอร์กระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่น่าเป็นที่แปลกใจที่จะมีการนำเอาความสามารถทางด้านเนตเวอร์กไปใส่ ให้กับลีนุกซ์ตั้งแต่ช่วงเริ่มแรกของการพัฒนา ในช่วงแรกจะเป็นการพัฒนา UUCP และต่อมาก็เริ่มมีการพัฒนา TCP/IP ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1992 โดย Ross Biro และทีมงาน ซึ่งจะรู้จักกันในนามของ Net-1

ต่อมาเมื่อ Ross ได้ถอนตัวจากการพัฒนาเมื่อเดือนพฤษภาคม 1993 , Fred van Kempen ก็ได้ทำการเริ่มเขียนโค้ดขึ้นมาใหม่ (Net-2) สำหรับการเผยแพร่สู่สาธารณะครั้งแรกในชื่อของ Net-2d อยู่ในราวช่วงฤดูร้อนปี 1993 (เผยแพร่ไปพร้อมกับ kernel เวอร์ชั่น 0.99.10) และหลังจากนั้นก็ได้มีการร่วมทำการพัฒนาจากนัก พัฒนาอีกหลายๆคน ที่สำคัญคือโดย Alan Cox ได้ทำ Net-2Debugged

หลังจากการตรวจสอบข้อผิดพลาดอย่างหนัก รวมทั้งการปรับปรุงโค้ดจำนวนมาก ก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น Net-3 ภายหลังที่ Linux 1.0 ได้ถูกเผยแพร่ออกไป Net-3 เป็นโค้ดที่ใช้งานอยู่กับเคอร์เนลที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการในปัจจุบัน

Net-3 มี device driver ที่สามารถใช้งานได้กับบอร์ดแบบ Ethernet หลายชนิดนอกจากนั้นก็ยังสามารถทำงานได้กับ SLIP (สำหรับส่งข้อมูลของเนตเวอร์กผ่านทาง Serial line) และ PLIP (สำหรับ Parallel line) Net-3 สามารถใช้งานได้ดีกับ Local Area Network ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของมันสามารถเอาชนะ ยูนิกซ์บนพีซีเชิงพาณิชย์บางตัวได้ การพัฒนาในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับเสถียรภาพ เพื่อสามารถใช้งานมันเป็น Internet host ได้อย่างน่าเชื่อถือ

นอกจาก features เหล่านี้ก็ได้มีโครงการหลายโครงการ ที่จะเพิ่มความหลากหลายให้กับความสามารถทางด้านเนตเวอร์กของลีนุกซ์ ตัวอย่างเช่น driver สำหรับ PPP (the point-to-point protocol, วิธีการส่งข้อมูลของเนตเวอร์กผ่านทาง Serial line อีกวิธีหนึ่งนอกเหนือจาก Slip) และ AX.25 ซึ่งเป็น driver สำหรับการใช้งานทางด้าน ham radio (เครือข่ายเนตเวอร์กแบบวิทยุ) Alan Cox ยังทำการพัฒนา driver สำหรับ Novell's IPX protocol ด้วย นอกจากนี้ก็ยังมี samba ซึ่งเป็น server NetBIOS ฟรีบนระบบยูนิกซ์ ซึ่งถูกทำการพัฒนาโดย Andrew Tridgell (NetBIOS เป็น protocol ที่ใช้งานกับ application จำพวก lanmanager และตระกูล Windows for Workgroup)

การติดตั้ง เนตเวอร์กฮาร์ดแวร์
การใช้งานเนตเวอร์ก คุณจำเป็นจะต้องติดตั้งฮาร์ดแวร์ ในการใช้งานเนตเวอร์กระดับ LAN ทั่วไปมักจะต้องใช้พวก Ethernet board คุณจะต้องติดตั้งการ์ดพวกนี้ลงไปในเครื่องของคุณ ตัวอย่างการ์ดหลักๆที่ลีนุกซ์สนับสนุนก็คือ

Western Digital WD80*3;

SMC Ultra;

3com 3c501, 3c503, 3c509, 3c579;

AT1500 and NE2100 (LANCE and PCnet-ISA);

Cabletron E21xx;

DEPCA;

HP PCLAN;

NE2000;

NE1000;

SK_G16;

Apricot Xen-II on board ethernet;

D-Link DE600;

D-Link DE620;

AT-LAN-TEC/RealTek pocket adaptor;

Zenith Z-Note;

3com 3c505(*), 3c507(*);

EtherExpress;

AT1700(*), NI5210(*), NI6510(*);

Ansel Communications EISA 3200(*).

ให้พิจารณาดูด้วยว่าการ์ดของคุณเป็นการ์ดชนิด EISA หรือแบบ PCI เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เสียบการ์ดของคุณลงในช่องของ EISA หรือ PCI ที่ว่างนั้น อย่าลืมเสียบการ์ดให้ตรงชนิดกับช่องที่คุณจะใส่ลงไปด้วย โดยปกติช่องแบบ EISA จะมีความยาวที่มากกว่าช่องแบบ PCI และมักจะเป็นสีดำ ในขณะที่ PCI มักจะเป็นสีขาว

โดยปกติการ์ดเหล่านี้จะให้มาพร้อมกับไดร์เวอร์ และโปรแกรมสำหรับคอนฟิกการ์ดในกรณีที่เป็นการคอนฟิกผ่านซอฟต์แวร์ไม่ได้เป็นแบบใช้จัมเปอร์ ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านั้นมักจะต้องรันบน DOS ให้ลองทดสอบการ์ดของคุณผ่านซอฟต์แวร์เหล่านั้นดู และคุณอาจจะต้องพึ่งซอฟต์แวร์เหล่านั้นในกรณีที่จะต้องมีการปรับแต่งคอนฟิกของการ์ด แต่หากการ์ดคุณจะต้องคอนฟิกโดยการใช้จัมเปอร์ คุณจะต้องพึ่งคู่มือของคุณในการที่จะปรับแต่งใดๆ

ในเครื่อง PC เวลามีการส่งผ่านการสื่อสารข้อมูล มักจะกระทำผ่านเนื้อที่หน่วยความจำในส่วนของ I/O ซึ่งจะถูก map เข้ากับ รีจิสเตอร์บนบอร์ด หรืออื่นๆที่คล้ายกัน เคอร์เนลของลีนุกซ์ ก็จะทำการส่งข้อมูลผ่านทางรีจิสเตอร์เหล่านี้ เนื้อที่หน่วยความจำในส่วน I/O (base address) ที่มักจะใช้กันในการ์ด Ethernet เหล่านี้ มักจะเป็น 0x300 หรือ 0x600 โดยปกติคุณไม่จำเป็นจะต้องไปใส่ใจกับ base address เหล่านี้ เพราะเคอร์เนลของลีนุกซ์จะทำการตรวจสอบ base address เหล่านี้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะเรียกว่าการทำ autoprobing

นอกจาก base address แล้วยังมีสิ่งที่ต้องสนใจอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็คือ interrupt request channel ซึ่งฮาร์ดแวร์จะใช้ช่องทางเหล่านี้ในการทำการ "ขัดจังหวะ" เคอร์เนล เมื่อมันต้องการบริการจากเคอร์เนล ตัวอย่างเช่น เมื่อมีข้อมูลมาถึง หรือมีเหตุการณ์พิเศษบางอย่างเกิดขึ้น ฮาร์ดแวร์จะทำการขัดจังหวะ ผ่านช่องทางของ interrupt channel หมายเลข 0, 1 และ 3 จนถึง 15 ซึ่งช่องทางเหล่านี้ จะเรียกว่า interrupt request number หรือ IRQ

เคอร์เนลจะรู้จักการ์ดเหล่านี้ผ่านทาง ชื่อที่กำหนดไว้ภายในเคอร์เนล และไม่ได้อยู่ในไดเรกทอรี /dev ปกติถ้าเป็น การ์ด Ethernet จะมีชื่อเป็น eth0, eth1, ... eth0 จะเป็นการ์ดตัวแรก , eth1 จะเป็นการ์ดตัวถัดไป และต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อทำการบูตแล้วหากทำการติดตั้งเนตเวอร์กการ์ด ได้ถูกต้องลีนุกซ์จะแสดงข้อมูลของเนตเวอร์กโปรโตคอล และเนตเวอร์กการ์ดขึ้นมาให้ ถ้าหากดูไม่ทันให้ใช้คำสั่ง dmesg เพื่อแสดงข้อมูลเหล่านี้ออกมาภายหลัง

ตัวอย่าง
Swansea University Computer Society NET3.035 for Linux 2.0

NET3: Unix domain sockets 0.13 for Linux NET3.035.

Swansea University Computer Society TCP/IP for NET3.034

IP Protocols: ICMP, UDP, TCP

.
.
.

IPX Portions Copyright (c) 1995 Caldera, Inc.

Appletalk 0.17 for Linux NET3.035

3c503.c: Presently autoprobing (not recommended) for a single card.

loading device 'eth0'...

3c503.c:v1.10 9/23/93 Donald Becker (becker@cesdis.gsfc.nasa.gov)

eth0: 3c503 at i/o base 0x300, node 02 60 8c af 87 18, using internal xcvr.

eth0: 3c503/16 - 16kB RAM, 8kB shared mem window at 0xd8000-0xd9fff.

สถาปัตยกรรม(แบบจำลองของ OSI)

สถาปัตยกรรม
ในการออกแบบเนตเวอร์กนั้น จะทำการแบ่งหน้าที่ของการทำงานต่างๆออกเป็นลำดับชั้น (layer) โดยที่แต่ละเลเยอร์จะทำการรับข้อมูลจาก เลเยอร์ที่สูงกว่าลงมา และส่งผ่านไปให้เลเยอร์ที่ต่ำกว่าลงไปเรื่อยๆ จนถึงเลเยอร์ลำดับล่างสุด ซึ่งจะเป็นตัวกลางทางกายภาพ (physical medium) หรือสายสัญญาณที่ใช้ทำการส่งข้อมูลกันจริงๆ


เรามักจะมองว่า เกิดการสื่อสารกันระหว่างเลเยอร์ที่มีลำดับตรงกัน กับคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่ายขึ้น ซึ่งจะเรียกว่าการสื่อสารเสมือน (virtual communication) แต่ในความเป็นจริงแล้ว การสื่อสารที่เกิดขึ้นจริงจะถูกส่งผ่านตามเลเยอร์ลงมาจนกระทั่งถึงเลเยอร์ลำดับล่างสุด ซึ่งเป็นตัวกลางการสื่อสาร และส่งผ่านไปให้คอมพิวเตอร์อีกด้านหนึ่งและผ่านเลเยอร์ จากชั้นล่างสุดไปจนถึงเลเยอร์ชั้นบนสุด วิธีการที่เลเยอร์ในลำดับที่ตรงกันของเครื่องที่ทำการสื่อสารกัน จะถูกเรียกว่าโปรโตคอล (protocol)


ตัวอย่างเช่นการสื่อสารแบบ IRC ผ่านอินเทอร์เนต เรามองดูเหมือนว่า เกิดการสื่อสารขึ้นจริงๆระหว่าง เรากับเพื่อนของเราที่อยู่ห่างไกลออกไป แต่ในความเป็นจริงเมื่อเราทำการพิมพ์ข้อความ ข้อความนนจะถูกดัดแปลงตกแต่งและถูกส่งลงไปในเลเยอร์การสื่อสารลำดับต่ำกว่า ในกรณีนี้โปรแกรม IRC ที่เราและเพื่อนเราใช้จะต้องมีวิธีการสื่อสารหรือโปรโตคอลแบบเดียวกัน (นี่เป็นเพียงการเปรียบเทียบ เนื่องจากการสื่อสารที่เกิดขึ้นจริงจะต้องผ่าน Chat server ก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลของแต่ละฝ่ายไปให้กัน)


แบบจำลองของ OSI (The OSI Reference model)
เพื่อจะสามารถทำการอธิบาย สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้เข้าใจอย่างละเอียด รวมทั้งเพื่อแสดงถึงตัวอย่างการออกแบบเลเยอร์ และรูปแบบของโปรโตคอลจึงได้มีการพัฒนาแบบจำลอง (model) ของเนตเวอร์กขึ้นมา แบบจำลองนี้ได้ถูกพัฒนาโดย International Standard Organization (ISO) และเรียกชื่อแบบจำลองนี้ว่า OSI (Open System Interconnection) ซึ่งจะมีทั้งหมด 7 เลเยอร์ โดยหลักการออกแบบเลเยอร์คือ


1. เลเยอร์จะถูกกำหนดขึ้นมาเมื่อมีข้อแตกต่างด้านแนวคิด (abstraction)


2. แต่ละเลเยอร์จะมีการกำหนดการทำงานอย่างละเอียด


3. ฟังก์ภายในเลเยอร์จะพยายามมุ่งไปสู่ระดับมาตรฐานของโปรโตคอล


4. ขอบเขตของเลเยอร์จะถูกเลือกและจำกัดให้มีปริมาณการเชื่อมต่อ ระหว่างเลเยอร์ให้น้อยที่สุด


5.จำนวนของเลเยอร์จะต้องมากพอที่จะทำให้ฟังก์ชั่นที่จำเป็นและแตกต่างกันไม่อยู่ในเลเยอร์เดียวกัน และจำนวนเลเยอร์จะต้องไม่มากจนเกินไป



1. เลเยอร์ : Physical layer
เลเยอร์นี้จะเกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลระดับบิต ผ่านช่องสื่อสารข้อมูล โดยการออกแบบจะต้องแน่ใจว่าจะสามารถส่งข้อมูลออกไป และปลายทางจะต้องรับข้อมูลนั้นได้อย่างถูกต้อง โดยส่วนใหญ่จะเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องของแรงดันไฟฟ้า ว่าจะต้องใช้แรงดันเท่าไรสำหรับแทนเลข "1" และเท่าใดสำหรับแทนเลข "0" ระยะเวลาในการส่งแต่ละบิตจะต้องห่างกันเท่าใด รวมถึงรูปแบบของคอนเนคเตอร์ วิศวกรไฟฟ้าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเลเยอร์ในลำดับชั้นนี้


2. เลเยอร์ : Data linklayer

จุดประสงค์หลักของเลเยอร์นี้คือ จะทำการควบคุมการส่งข้อมูลดิบให้เหมือนกับว่า ไม่มี ข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ทำให้เลเยอร์ในลำดับถัดไปไม่ต้องสนใจในเรื่องนี้ วิธีการคือจะต้อง ทำการแตกข้อมูลออกเป็นก้อนๆเรียกว่า เฟรมข้อมูล (data-frame) แล้วทำการส่งออกไปทีละชุด และรอการตอบรับ (acknowledge frame) กลับมา

ในกรณีที่มีสัญญาณรบกวน ทำให้สัญญาณขาดหายไป จะต้องมีการบอกให้เครื่องต้นทางทำการส่งข้อมูลที่หายไปนั้นกลับมาให้ใหม่ นอกจากนี้จะต้องมีการพักข้อมูลไว้ในบัฟเฟอร์ หากความเร็วในการส่งข้อมูลของทั้งสองฝ่ายไม่เท่ากัน

3. เลเยอร์ : Network layer

หน้าที่หลักของเลเยอร์นี้ จะเกี่ยวข้องกับการหาเส้นทาง (route) เพื่อพิจารณาว่าแพคเก็ตจะถูกส่งจากต้นทางไปยังปลายทางได้อย่างไร การกำหนดเส้นทางอาจจะกำหนดตั้งแต่เริ่มต้นติดต่อเลย หรืออาจจะสามารถเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (dynamic) ก็ได้ นอกจากนี้ก็มีเรื่องที่จะต้องพิจารณาหากมีการส่งข้อมูลข้ามเนตเวอร์ก แล้วมีความแตกต่างระหว่างเนตเวอร์ก หรือใช้โปรโตคอลแตกต่างกัน เนตเวอร์กเลเยอร์จะต้องทำการจัดการกับปัญหาเหล่านี้เพื่อให้แต่ละเนตเวอร์กสามารถเชื่อมต่อกันได้ เสมือนเป็นเนตเวอร์กเดียวกัน


4. เลเยอร์ : Transport layer

เลเยอร์นี้จะคอยทำการติดต่อกับเลเยอร์ถัดไป (session layer) เพื่อคอยแยกข้อมูล ให้มีขนาดพอเหมาะและส่งต่อให้กับ network layer พร้อมทั้งตรวจสอบว่าข้อมูลได้ถูกส่งไปถึงยังปลายทางได้อย่างเรียบร้อยหรือไม่ โดยเลเยอร์นี้จะต้องจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเป็นการแยกให้ session layer เป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮาร์ดแวร์

5. เลเยอร์ : Session layer

นอกจากจะทำการส่งข้อมูลแบบเดียวกับ transport layer แล้ว ยังมีการให้บริการอื่นๆเช่น การยอมให้ผู้ใช้งานเข้าไปใช้งานยังเครื่องที่อยู่ห่างไกลออกไป (remote login) หรือทำการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่อง นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการซิงโครไนซ์เซชั่น (synchronization) หรือทำให้สองระบบทำงานสัมพันธ์กัน


6. เลเยอร์ : Presentation layer

เลเยอร์นี้จะสนใจในเรื่องของรูปแบบของข้อมูล เช่นการเปลี่ยนรหัสข้ามจาก ASCII เป็นรหัส EBCDIC เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ที่มีการแทนรหัสต่างกันสามารถสื่อสารกันได้ นอกจากนี้ก็อาจทำการลดขนาดของข้อมูล (data compression) หรือทำการเข้ารหัสของข้อมูล (data encryption) เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลได้ด้วย


7. เลเยอร์ : Application layer

เลเยอร์บนสุดจะเกี่ยวข้องกับ โปรโตคอลมากมาย ซึ่งจะมีการใช้งานที่แตกต่างกันโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่นการควบคุมเทอร์มินอลชนิดต่างๆ รูปแบบการแสดงผลทางจอภาพอาจมีความแตกต่างกัน ก็อาจมีการกำหนดเทอร์มินอลเสมือน เพื่อเป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานของเทอร์มินอลจริงๆ (คล้ายกับ java bytecode ที่เป็นรหัสกลางสำหรับ java compiler จะทำการตีความให้สามารถทำงานที่เครื่องต่างชนิดกันได้)

ตัวอย่างของเนตเวอร์ก เปรียบเทียบกับโมเดลของ OSI
ARPANET : Advanced Research Project Agency Network เกิดจากโครงการวิจัยทางการทหารของ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยบางแห่ง และเพิ่มจำนวนขึ้นมากเรื่อยๆ (ปัจจุบันกลายเป็นระบบอินเทอร์เนต)

ARPANET ไม่ได้มีการแบ่งรูปแบบตามแบบของ OSI เนื่องจากมีการใช้งานก่อนกำหนดมาตรฐาน OSI เกือบ 10 ปี โปรโตคอลการสื่อสารระหว่าง IMP จะเป็นการผสมผสานระหว่าง layer 2 และ layer 3 นอกจากนี้ยังมีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ฝั่งรับของ IMP ด้วย

ARPANET มีโปรโตคอลที่ทำงานคล้ายในแบบจำลองของ OSI ที่ network layer และ transport layer เรียกว่า IP (Internet Protocol) มีลักษณะแบบ connectionless และถูกออกแบบมาให้ต่อกับ LAN และ WAN ที่ต่อกับ ARPA internet

โปรโตคอลของ ARPANET ที่ transport layer ทำงานแบบ connection-oriented เรียกว่า TCP (Transmission Control Protocol) ซึ่งจะคล้ายๆกับ โปรโตคอลของ OSI ที่ transport layer แต่มีความแตกต่างกันในด้านรายละเอียด และ TCP ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากในระบบปฏิบัติการตระกูล UNIX

ARPANET ในระยะแรกไม่มี session และ application protocol แต่ภายหลังก็มี application protocol ต่างๆ ซึ่งไม่ได้มีโครงสร้างแบบเดียวกับ OSI บริการที่มีเช่น FTP (File Transfer Protocol) หรือการถ่ายโอนไฟล์, SMTP (Simple Mail Transfer Protocol) สำหรับใช้งานจดหมายอิเลคโทรนิคส์ และ TELNET สำหรับการขอใช้งานจากระยะไกล ในระยะหลังๆเมื่อ ARPANET ได้กลายเป็นอินเทอร์เนต แล้ว ได้มีการพัฒนา application protocol ขึ้นมามากมายภายหลัง เช่น HTTP, NNTP เป็นต้น

พื้นฐานของเนตเวอร์ก

พื้นฐานของเนตเวอร์ก
มนุษย์เริ่มรู้จักการสื่อสารข้อมูลมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยโบราณเรารู้จักการใช้จดหมายผูกไปกับนกพิราบสื่อสาร พัฒนาเป็นการส่งข้อมูลผ่านโทรเลข การพูดคุยผ่านโทรศัพท์และในที่สุดก็พัฒนาเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์

การพัฒนาการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เริ่มมีแนวคิดมานานแล้ว โครงการที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับทางทหาร ต้องการที่จะเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในประเทศเข้าด้วยกัน และคิดค้นหาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้การสื่อสารของทั้งระบบต้องหยุดชะงัก หากเส้นทางการสื่อสารบางเส้นทางถูกทำลายไป ระบบจะต้องมีความสามารถในการเลือกหาเส้นทางการสื่อสารเส้นทางอื่นที่ใช้งานเป็นปกติได้ ในที่สุดระบบดังกล่าวนี้ก็ได้ถูกพัฒนาใช้ขึ้นมาเพื่อการศึกษาวิจัย และใช้ในเชิงพาณิชย์ในที่สุด ซึ่งก็คือระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตในปัจจุบันนั่นเอง ปัจจุบันระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตนับว่ามีบทบาทมากมายมหาศาล และนับวันจะยิ่งเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์เข้าไปทุกที

การใช้งานเนตเวอร์ก
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน จะมีจุดประสงค์เพื่อสามารถให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ผู้ที่ใช้งานอยู่บนคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง จะสามารถใช้บริการทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปได้ สำหรับจุดมุ่งหมายอื่น เช่นเพื่อเน้น ความน่าเชื่อถือของระบบ และการลดค่าใช้จ่ายลง
ปกติจะทำการจำแนก ระยะห่างของการสื่อสารออกเป็นรูปแบบต่างๆดังต่อไปนี้
ตารางแสดงเนตเวอร์กกับระยะห่างต่างๆ ระยะทางระหว่างโปรเซสเซอร์ โปรเซสเซอร์อยู่ที่ ตัวอย่างเช่น

โครงสร้างของเครือข่าย
ภายในเนตเวอร์กจะมี เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ ที่ทำหน้าที่ตามคำสั่งของผู้ใช้จะเรียกว่า Host (end system) ซึ่งระบบแรกๆจะถูกเชื่อมผ่าน subnet แต่ในระยะหลังเนื่องจากมีขนาดเครือข่ายกว้างขวางขึ้น รวมทั้งมีความซับซ้อนของการสื่อสารข้อมูลมากขึ้น จะมีระบบสลับข้อมูลเข้ามาช่วยในการสื่อสารข้อมูลระบบสลับข้อมูลนี้จะเรียกว่า IMP (Interface Message processor) บางทีอาจจะเรียกว่า package switching node หรือ intermediate system ก็มี



ปกติรูปแบบการเชื่อมต่อจะเป็นแบบ จุดถึงจุด (point to point) และแบบกระจาย (broadcast channel)

การเชื่อมต่อแบบจุดถึงจุด จะประกอบด้วยสายเคเบิล หรือสายสื่อสารเชื่อมต่อระหว่าง IMP ของแต่ละจุดเข้าด้วยกัน ในกรณีต้องการจะทำการสื่อสารระหว่าง IMP ซึ่งไม่มีสายสื่อสารเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน จะต้องทำการส่งผ่าน IMP ตัวอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงแทน เมื่อกลุ่มของข้อมูล (message หรือ packet) ถูกส่งจาก IMP ออกมาแล้ว IMP ตัวกลางจะทำการเก็บแพคเก็ตเอาไว้ รอจนกระทั่งสายที่ใช้ส่งว่างแล้วจึงส่งแพคเก็ตออกไป วิธีแบบนี้จะถูกเรียกว่า store and forward หรือ packet switched


การเชื่อมต่อแบบกระจาย จะมีช่องทางเชื่อมสัญญาณเพียงช่องทางเดียว และต้องใช้ร่วมกับเนตเวอร์กอื่นๆ เมื่อแพคเก็ตถูกส่งออกไปแล้ว IMP อื่นๆจะได้รับสัญญาณในเวลาที่ใกล้เคียงกัน เมื่อ IMP ได้รับสัญญาณแล้วจะตรวจดูว่าเป็นแพคเก็ตของตนหรือไม่ ได้จาก address ภายในแพคเก็ตนั้น หากไม่ตรงกับ address ของตนเอง แพคเก็ตนั้นก็จะถูกทิ้งไป

Link

วาไรตี้ ดีดีจัง / ThaiBlog.info / Search Engine Optimization - AddMe / Search Engine Submission / AddDir.info Web link Directory/ Ranking Web Directory / Add2Dir.info Web link Directory/ A Big Dir/ SEO Friendly General Directory/ A1dir/ Seo friendly web directory/ 3wlink web resources/ Free Web Directory: Directory-474/ 2AddLink Web Link Directory/ วาไรตี้ ดีดีจัง / 1Abc Directory/ UK Auto Dealers Car Traders / Skaloosh Internet Directory / Sloppy Links Internet Directory / Smart Web Directory / / ThaiLand Web Directory / Free Listing Web Directory / Free web directory / Web Directory Hit LInks/ Top web Directory / UrlCan Web Directory / Free Search Engine Submission / SearchFinish / Pantip.com / Add URL Directory / Pblake Directory / เว็บไดเรคทอรี / Pantip.com/ video clip - วีดีโอคลิป/ SearchWiz.org Directory / เปิดร้านขายของ Online ฟรี! / Skype Media Web Directory / Reciprocal Links Directory / video clip - วีดีโอคลิป / บล็อก-หาเพื่อน / video clip / ฟังวิทยุ / รูปดารา / URL Shack Web Directory / World WIde Web Directory / Free One-Way Link Web Directory Web Link Index / Sports / Games / Zopso.com / ThaiBlog.info/ Search Engine Submission/ วาไรตี้ ดีดีจัง/ Search Engine Optimization - AddMe / Add Url 000 Directory/ Search Engine Optimization and SEO Tools    
Spiceday.com Banner Exchange
/ Auctions       Pedsters Planet Website Directory        Webdir & Free Counter & Hits   บล็อก หาเพื่อน สาวสวย ของแต่งบล็อก blog เว็บบล็อก เขียนบล็อก video clip ฟังวิทยุ ดูทีวี ฟังเพลง รูปดารา ทายผลบอล บล็อก หาเพื่อน สาวสวย ของแต่งบล็อก blog เว็บบล็อก เขียนบล็อก video clip ฟังวิทยุ ดูทีวี ฟังเพลง รูปดารา ทายผลบอล @Submit!-FREE Promotion Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory Amfibi Web Search & Directory/ .:. Thaimarketpost.com - ไทยมาร์เก็ตโพส แหล่งรวมประกาศ ฟรีลงประกาศ ลงประกาศฟรี สินค้า ซื้อ ขาย ลงโฆษณา โปรโมทเว็บฟรี,เว็บไดเร็คทอรี่,Webdirectory,Add URL Free,Classifieds,Webboard,Blog,Advertise,Advertising,Post,TV,FM,Radio,News,Download,Wallpaper,Link Exchange/ กระเบื้อง กระเบื้องดินเผา/ ร่วมให้คะแนนโหวตเว็บแห่งนี้/ @Submit!-FREE Promotion